แอสโตรไซโตมา

Last updated: 6 ส.ค. 2567  |  4568 จำนวนผู้เข้าชม  | 

แอสโตรไซโตมา

แอสโตรไซโตมา


          สมองเป็นอวัยวะหลักของระบบประสาทส่วนกลาง และสร้างเส้นใยประสาท และเนื้อเยื่อglial และเนื้อเยื่ออื่นเช่น  astrocytes  และoligodendrocytes และ แอสโตไซโตก็เป็นมะเร็งจากเซลล์แอสโตรไซด์ พบได้บ่อยในผู้ใหญ่แต่เด็กก็เจอได้

สาเหตุ 
      ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แอสโตรไซโตมาไม่ได้ถ่ายทอดทางพันธุกรรม
 
อาการ
   ปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน หรือชัก อาการอื่นๆ เช่น แขนหรือขาอ่อนแรงข้างเดียวของร่างกาย สายตาและการพูดมีปัญหาและการรับรู้เปลี่ยนไปเช่น การสับสน ปัญหาด้านความจำ

การวินิจฉัย 
    แพทย์ดูจากอาการที่แสดงออกมาแต่อาจสับสนกับอาการปวดหัวแบบบีบรัดหรือการติดเชื้อบริเวณไซนัสในตอนแรก แพทย์ใช้ MRI CTเพื่อหาก้อนเนื้อ และอาจเก็บชิ้นเนื้อเพื่อส่งตรวจ แอสโตรไซโตรมาแบ่งระดับความรุนแรงเป็น1-4 เพื่อใช้ประเมินในการรักษาต่อไป

การรักษา 
      ผ่าตัด ฉายแสง  คีโม ซึ่งการรักษาต้องรวมแพทย์ทางศัลยกรรม แพทย์อายุกรรมมะเร็ง แพทย์รังสีช่วยประเมินอากรร่วมกัน การผ่าตัดใช้เป็นวิธีแรกในการรักษาเพื่อที่จะตัดเอาชิ้นเนื้อที่ไม่ดีออกมาให้ได้มากที่สุด ฉายรังสีหลังผ่าตัด อาจมีภาวะแทรกซ้อน คือ แห้ง แดง คันเหนือบริเวณที่ฉายแสง ผู้ป่วยที่เป็นระยะน้อยโดยปกติไม่ต้องทำคีโม คนที่เป็นระยะรุนแรงทำคีโมมักได้ผลดี ผลข้างเคียงมีคลื่นไส้อาเจียน ติดเชื้อ ผมร่วง เป็นจ้ำเลือดง่าย เลือดออกง่าย


    สิ่งที่ควรทำ
ควรทราบว่า10-35% ของแอสโตรไซโตมาชนิดที่หนึ่งสามารถรักษาหายได้
ควรทราบว่าถึงแม้จะเป้นแอสโตรไซโตมาเกรดหนึ่งแต่แล้วแต่ตำแหน่งที่เกิดเนื้องอก
ควรทราบว่าเนื้องอกเอาออกค่อนข้างยาก
ควรรีบพบแพทย์หากมีคลื่นไส้อาเจียน ปวดหัวอ่อนแรงครึ่งซีก ชักหรือปัญหาการมองเห็น
ควรรีบแจ้งแพทย์หากมีผลข้างเคียงจากการรักษาเช่นไข้หลังทำคีโม

   ห้ามทำ
ห้ามพลาดนัดแพทย์
 ห้ามกลัวที่จะขอความเห็นแพทย์ที่เคยรักษาเกี่ยวกับโรคนี้
 ห้ามลืมกินยาตามแพทย์สั่ง

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้