Last updated: 6 ส.ค. 2567 | 13784 จำนวนผู้เข้าชม |
Antiphospholipid Antibody Syndrome
Antiphospholipid Antibody Syndrome
หรือเรียกย่อ ว่า APS กลุ่มคนเที่มีลิ่มเลือดมากกว่าปกติ และมีตัวแอนตี้ฟอสโฟไลปิดในเลือด แอนตี้อดี้เป็นสารที่ผลิตจากภูมิคุ้มกันในร่างกายซึ่งถูกสร้างมาต่อสู้เชื้อโรค ซึ่งภาวะออโตอิมมูนเกิดขึ้นทำลายภูมิคุ้มกันตัวเอง เกิดในหญิงตั้งครรภ์เช่น ภาวะแท้งบุตรหรือเด็กคลอดก่อนกำหนด
สาเหตุ
ไม่ทราบแน่ชัดไม่สามารถส่งต่อรุ่นสู่รุ่นได้ แอนตี้ฟอสโฟไลปิดมีผลต่อการแข็งตัวของเลือดในร่างกายดังนั้นผู้ป่วยมีโอกาสที่เป็นลิ่มอุดตันในหลอดเลือดดำและหลอดเลือดแดงทำให้เกิดโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือด ออโตแอนตี้บอดี้ หรือเรียกว่า lupus anticoagulant และanticardiolipin antibodies พบในคนที่เป็นSLEและโรคอื่นที่เสี่ยงเป็นคือ rheumatoid arthritis Behçet’s syndromeและ Sjögren’s syndrome และยาต่างๆเช่น hydralazine quinine และ antibiotics อาจทำให้เกิดAPS ได้
อาการ
การอุดตันทั้งหลอดดำและแดง ส่วนใหญ่เกิดในหลอดเลือดดำ ลิ่มเลือดทำให้ขาบวม ปวด แดง และร้อน ตำแหน่งที่ที่เกิดการอุดตันเส้นเลือดในสมอง เกิดสมองขาดเลือด พูดช้าลง อัมพาต ชา และ สายตามีปัญหา ส่วนอื่นของร่างกายรวมถึง หัวใจ ปอด ระบบทางเดินอาหาร ไต ผิวหนัง เกิดการแท้งในหญิงตั้งครรภ์ได้ มีผลต่อความดัน ซีด และเกล็ดเลือดต่ำ
การวินิจฉัย
สงสัยโรค APS เพราะลิ่มเลือดอุดตัน ให้เจาะเลือด ถ่ายเอกซเรย์เพื่อช่วยวินิจฉัย รวมถึงอาการทางคลินิกลิ่มเลือด และภาวะแทรกซ้อนในหญิงตั้งครรภ์เช่น ทารกเสียชีวิตในครรภ์ เด็กคลอดก่อนกำหนอด ภาวะแท้ง และการตรวจห้องปฏิบัติการณ์พบ anticardiolipin antibodies หรือ lupus anticoagulant
การรักษา
ยาละลายลิ่มเลือดใช้เพื่อป้องกันการเป็นลิ่มเลือดเช่น heparin และwarfarin หากAPS เกิดจากสาเหตุอื่นแพทย์จะรักษาสาเหตุนั้น และควรติดตามตรวจเลือดเพื่อดูระดับของยา และงดการทำกิจกรรมที่ทำให้เกิดบาดแผล
สิ่งที่ควรทำ
ควรทราบว่าแม้ว่าแอสไพรินเป็นหนึ่งในยาละลายลิ่มเลือดแต่ไม่ใช้รักษาAPS
ควรทราบว่าคุณมีแอนตี้ฟอสโฟไลปิด แอนติบอดี้อยู่แล้ว หากไม่มีลิ่มเลือดไม่จำเป็นต้องกินยา
ควรแจ้งแพทย์หากเกิดAPSขณะที่คุณกำลังตั้งครรภ์
ควรแจ้งแพทย์หากกินยาละลิ่มเลือดและพบว่ามีจ้ำเลือดต่ำผิวหนัง
ห้ามทำ
ห้ามกินยาวาฟารินน้อยหรือมากกว่าที่แพทย์สั่ง ยาควรอยู่ในระดับที่แนะนำเพื่อสลายลิ่มเลือด
ห้ามกินยาคุมหากคุณมีแอนตี้ฟอสโฟไลปิดแอนติบอดี้
19 ก.ค. 2566
18 พ.ค. 2566
21 ก.ย. 2565
24 เม.ย 2566