Last updated: 6 ส.ค. 2567 | 4106 จำนวนผู้เข้าชม |
ภาวะอะชาเลเชีย
เป็นภาวะที่หลอดอาหาร เป็นท่ออาหารทีต่อทางปากและกระเพาะ ซึ่งในภาวะนี้เกิดจากการที่อาหารทั้งของแข็งและของเหลวเคลื่อนผ่านไปที่กระเพาะได้ เนื่องจากกล้ามเนื้อรูดไม่ขยายตัวหลังจากอาหารเข้าไป ภาวะนี้เกิดได้ทุกเพศทุกวัยและไม่สามารถป้องกันได้
สาเหตุ
ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด อจจะเกิดจากการทำลายเส้นประสาทของหลอดอาหาร การติดเชื้อ หรือเป็นมาตั้งแต้กำเนิด
อาการ
อาการหลักๆคือกลืนชองเหลวลำบากในช่วงแรก และของแข็งตามมา น้ำหนักจะเริ่มลดลงเนื่องจากกินอาหารลำบากและเจ็บ อาการอื่นๆเช่น เจ็บหน้าอก เจ็บเวลากลืน ไอ หายใจลำบาก อาเจียน เรอ ในเคสท่รุนแรงมากๆ อาจจะพบว่ามีกลิ่นปากอีกด้วย
การวินิจฉัย
โดยการกลืนแป้งเพื่อเอกซเรย์ลำไส้ หรือการตรวจรังสีในหลอดลม วิธีนี้ทำให้เห็นส่วนที่ตีบและกว้างเหนือหูรูดก่อนถึงกระเพาะ ตัววัดแรงหดตัวจะช่วยวัดว่ามีการเคลื่อนตัวของหลอดอาหาร และแรงหดตัวที่เพิ่มขึ้นที่ตำแหน่งต่ำกว่าบริเวณหูรูด การตรวจ endoscope การส่องงกล้องเพื่อให้มั่นใจว่ามีการตีบตันของหูรูดและเก็บชิ้นเนื้อเพื่อให้รู้ว่าไม่ใช่โนคอื่นที่ทำให้เกิดอาการ
การรักษา
อาการนี้ยังไม่มีที่รักษาที่เฉพาะ แต่ทำให้อาการดีขึ้นและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่เกิดตามมา เป้าหมายในการรักษาคือลดแรงดันที่เกิดส่วนหูรูดด้านล่างของหลอดอาหาร โดยงจากการขยายหูรูดด้วยเครื่อมือหรือการทำบอลลูนนั่นเอง หลังจากการขยายแล้วการหลอดลมจะเคลื่อนไหวไม่ค่อยเหมือนเดิม และต้องทำการขยายซ้ำหากมีอาการเกิดขึ้นอีก
ยาเช่น nitrate หรือcacium channel blocker ช่วยลดแรงดันที่บริเวณหุรูดได้ ซึ่งยาเหล่านี้ใช้เมื่อสำหรับคนที่ใช้วิธีขยายขนาดไม่ได้
การฉีดโบท็อกเข้าไปบริเวณหูรูด ซึ่งเป็นวิธีใหม่ที่ใช้รักษาก่อนตัดสินใจผ่าตัด หากรักษาทุกวิธีแล้วไม่สำเร็จแพทย์จำเป็นต้องผ่าเปิดหรือผ่าตัดโดยใช้กล้องเพื่อตัดลดแรงดันบริเวณหลอดอาหารถ้าหากไม่ได้รับการรักษา อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น การแตกของหลอดอาหาร การไหลย้อของกรดในกระเพาะ การสำลักก่อให้เกิดปอดติดเชื้อ บางคนทำให้เกิดมะเร็งที่หลอดอาหารได้
สิ่งที่ควรทำ
ควรกินและเคี้ยวช้าๆ
ควรรีบพบแพทย์ ถ้าคุณ ยังกลืนลำบากหลังการรักษา หรือมีอาการไม่ปกติอยู่
ควรรีบพบแพทย์ทนทีเมื่ออ้วกเป็นเลือดหรือมีอาการอื่นๆแปลกปลอม
ห้ามทำ
ห้ามกินอาหารหรือดื่มน้ำขณะนอน
ห้ามกินของร้อนหรือเย็นเกินไป ซึ่งจะทำให้อาการแย่ลงอีก
12 มิ.ย. 2566
17 ส.ค. 2565
6 ก.ย. 2564
19 พ.ย. 2564