โรคถุงผนังลำไส้อักเสบ(Diverticulitis)

Last updated: 6 ส.ค. 2567  |  33021 จำนวนผู้เข้าชม  | 

โรคถุงผนังลำไส้อักเสบ(Diverticulitis)

โรคถุงผนังลำไส้อักเสบ(Diverticulitis)


           ลำไส้ใหญ่ส่วนของโคล่อน เป็นส่วนสุดท้ายของระบบทางเดินอาหาร ซึ่งเป็นส่วนที่อาหารผ่านและกลายเป็นอุจจาระก่อนขับออกจากร่างกาย โรคนี้เกิดจากลำไส้ส่วนโคล่อนอ่อนแอ ทำให้เกิดเป็นถุงเล็กๆขึ้นมา ซึ่งส่วนนี้สามารถทำให้เกิดอาการบวมจาการอักเสบหรือติดเชื้อได้ แนวโน้มในการรักษาเป็นไปในทางที่ดีแต่สามารถเกิดซ้ำได้ ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น เลือดออก ลำไส้มีแตกเป็นแผล ลำไส้อุดตัน ฝีในลำไส้

สาเหตุ 
        ถุงผนังลำไส้อักเสบและติดเชื้อก่อเกิดเป็นฝีหนองจึงทำให้มีอาการ ฝีหนองแตกได้เมื่อมีการเสียดสีจากอาหารที่เคลื่อนที่ผ่านลำไส้ แรงดันจากอาหารหรืออุจจาระทำให้เกิดการอ่อนแอของผนังลำไส้ได้ และโรคนี้ไม่ส่งต่อทางพันธุกรรมหรือเจริญไปเป็นมะเร็ง

 อาการ
    อาการเกร็งท้องและปวดท้องมักจะเกิดที่ท้องล่างซ้าย ดดยปกติจะมีอาการรุนแรงและทันทีทันใด อากรอื่นๆเช่น ไข้หนาวสั่น ท้องผูก หรือท้องเสีย ไม่อยากอาหร หรือคลื่นไส้

วินิจฉัย

จากการซักประวัติตรวจร่างกาย ตวรเลือด เอกซเรย์ ct scan ตรวจเลือดเพื่อค้นหารการติดเชื้อ CT sacnเพื่อ

ค้นหาตำแหน่งการติดเชื้อและการอักเสบ การตรวจทาเงลือกอื่ยๆเช่น  การส่องกล้องดูลำไส้หรือการกลืนแป้ง

ยังไม่จำเป็นในผู้ป่วยที่มีการอักเสบและพึ่งมีอาการเพราะอาจทำให้ถุงลำไส้ที่ติดเชื้อแตกได้
     
การรักษา 
      หากไม่มีอาการรุนแรงหรือภาวะแทรกซ้อน สามารถตรวจเป็นคนไข้นอกได้ เพียงแค่แนะนำให้พักผ่อนและ กินอาหรอ่อนๆหรือเหลว ให้ยาปฏิชีวนะ  หากต้องรักษาตัวอยู่ในรพ. การรักษาเหมือนกับผู้ป่วยนอก แต่จำเนต้องให้น้ำสารน้ำทางหลอดเลือดและยาปฏิชีวนะ ร่วมกับยาแก้ปวด  ในตอนแรก จำเป็นต้องงดอาหารชั่วคราวและค่อยฟให้อาหารเหลวที่มีกากใยสูงและไขมันต่ำ สำหรับผู้ที่ป่วยรุนแรง ควรได้รับการผ่าตัดในส่วนของลำไส้ใหญ่โคล่อนที่มีปัญหา
 


    สิ่งที่ควรทำ
ควรกินยาตามแพทย์สั่ง
ควรกินอาหารที่มีกากใยสูง โซเดียมต่ำ ไขมันต่ำ และหลีกเลี่ยงการท้องผูก ซึ่งทำให้ลดโอกาสการเกิดเป็นถุงผนังลำไส้อักเสบ
ควรดื่มน้ำให้มากเมื่อมีอการ
ควรรักษาร่างกายให้เคลื่อนไหวอย่างพอดีๆ
ควรรักษาน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน หากน้ำหนักเกินควรลด

ควรรักษาให้ระดับการเคลื่อนไหวของลำไส้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

ควรรีบพบแพทย์หากมีเลือดปนมากับอุจจาระ  หรือการเคลื่อนไหวของลำไส้ผิดปกติ หรือน้ำหนักลดหาสาเหตุไม่ได้

 ควรรีบแจ้งแพทย์หากอาการปวดท้องหนักกว่าเดิม

 ควรรีบแจ้งแพทย์หากมีไข้
 

    ห้ามทำ
ห้ามใช้ยาถ่าย

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้