Last updated: 6 ส.ค. 2567 | 17153 จำนวนผู้เข้าชม |
คู่มือ
เรียน ป้องกันการสำลัก และปฐมพยาบาล ในระดับปฐมศึกษาและมัธยมศึกษา
สำหรับ อาจารย์ และ ผู้สอน ทุกท่าน
ข้อมูลที่ท่านจะได้เรียนรู้ เหมาะสำหรับ ผู้เรียนทุกระดับรวมไปถึง ผู้ปกครอง พ่อ แม่ ปู่ ยา ตา ยาย ญาติ พี่เลี้ยงเด็ก เด็กโต และ เด็กทุกวัย บทเรียนสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมของผู้เรียน เช่น ถ้าคุณครูผู้สอนระดับปฐมศึกษา ต้องสอนนักเรียนอายุตั้งแต่ 6-12 ปี แนะนำให้ท่านปรับการเรียนการสอน ดังนี้
ให้จดจำและศึกษาสัญญาลักษณ์ ใน บทที่ 4
เรียนวิธีขอความช่วยเหลือ ในบทที่ 5
ฝึก ทักษะ และ ศึกษาข้อมูล ในบทที่ 7-8
บทที่ 1 คำนำ
จากการศึกษา พบว่าในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ขวบปี มีหลอดอาหารค่อนข้างแคบ รวมไปถึงยังไม่มีการพัฒนากล้ามเนื้อเพื่อการกลืน ฟัน และระบบทางเดินอาหารส่วนต้น ยังไม่สมบรูณ์นัก การเคี้ยวและการกลืนจึงทำงานได้ไม่เต็มที่ นอกจากนั้น เด็กอายุวัยนี้ยังมีพฤติกรรมในการหยิบ สิ่งต่างๆ รอบตัวใส่ปากบ่อยๆ ดังนั้น จึงทำให้เด็กวัยนี้ เสียชีวิตจากการสำลักของเล่น อาหาร หรือ สิ่งแปลกปลอมมากเป็นอันดับต้นๆ
ดังนั้น ปัจจุบันเราควรเรียนวิธีช่วยสำลัก เพื่อช่วยชีวิตทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ด้วยความรู้และการฝึกฝนง่ายๆ ตามขั้นตอนการฝึกอย่างมีระบบได้ไม่ยาก.
พร้อมแล้วเรามาเรียนกันนะ...
บทที่ 2 ความรู้เบื้องต้น
เพื่อลดโอกาสการสำลักและเสียชีวิต การศึกษานี้จึงมุ่งไปถึง การป้องกัน, ความรู้ และ การฝึกฝน เพื่อช่วยเหลือเมื่อเกิดเหตุจริง
หากท่านทำตามคู่มือเล่มนี้แล้ว ทั้งนักเรียน อาจารย์ ผู้ปกครอง และ ทุกๆคนที่ใกล้ จะสามารเรียนรู้วิธีการป้องกันและช่วยเหลือ เด็กสำลักได้อย่างถูกต้อง
The Act+Fast Chokin TrainerTM ช่วยให้นักเรียนและผู้สอน ได้เรียนรู้ ฝึกได้เสมือน ช่วยชีวิตจริง โดยท่านสามารถฝึกกับ นักเรียนได้อย่างมีระบบและประสิทธิภาพสูงสุด โดยอยู่ในระบบการเรียนการสอน การช่วยชีวิต ปฐมพยาบาล ผู้ป่วยฉุกเฉิน ของ สภากาชาด และ คณะกรรมการช่วยชีวิต สมาคมแพทย์โรคหัวใจในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยใช้หลักการช่วย วิธี Helmish maneuver ซึ่งเป็นมาตรฐานสากล
เพื่อความปลอดภัย ควรมีผู้สอนหรือผู้ปกครอง ดูแลใกล้ชิดขณะที่นักเรียนฝึกฝนและเรียน เด็กๆควรอยู่ในสายตาของผู้ปกครองเพื่อให้การเรียนการสอนเป็นไปตามคู่มือเล่มนี้
วัตถุประสงค์การเรียนรู้
สามารถสังเกต และ เก็บวัตถุอันตราย(ที่กลืนได้) ห่างจากมือเด็กๆ
เพื่อลดโอกาสลำสักในเด็ก
สังเกต อาการเด็กสำลัก ได้อย่างถูกต้อง
ท่านสามารถเรียก รถพยาบาล ทีมฉุกเฉินได้ทันท่วงที
ช่วยเหลือเด็กขณะที่สำลักได้
หลังจากที่ช่วย สามารถดูแลเด็ก และ ส่งต่อ ได้อย่างถูกต้อง
สามารถ ฝึกฝน The Act+Fast Chokin TrainerTM นำไปใช้ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย
คำแนะนำสำหรับ คุณครู และ ผู้สอน
ระยะเวลาการเรียนการสอนที่เหมาะสมในการเรียนการสอน เด็กวัยปฐม ท่านควรเตรียมสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม ความพร้อมผู้สอนและคุณครู โดยใช้เวลาทั้งหมดรวมไปถึงการฝึกซ้อม ไม่ควรเกิน 60 นาที โดยทำตาม ตารางเวลา ดังนี้
เปิดงานและแนะนำตัว ไม่ควรเกิน 5 นาที
แนะนำระบบการเรียนและขั้นตอนต่างๆ ไม่ควรเกิน 5 นาที
วิธีป้องกันการสำลัก ไม่ควรเกิน 10 นาที
อาการและอาการแสดง เมื่อสำลักอาหาร ไม่ควรเกิน 5 นาที
เรียกขอความช่วยเหลือ 1669 ไม่ควรเกิน 5 นาที
วิธีและขั้นตอนการช่วยเหลือ ไม่ควรเกิน 10 นาที
การดูแล และ การส่งต่อ ผู้ป่วยหลังช่วยเหลือ ไม่ควรเกิน 5 นาที
ฝึกทักษะ การใช้ The Act+Fast Chokin TrainerTM ไม่ควรเกิน 15 นาที
คำแนะนำพิเศษ
ระยะเวลาทั้งหมดขึ้นอยู่กับจำนวนผู้เรียนและจำนวน อุปกรณ์ The Act+Fast Chokin TrainerTM
แหล่งที่มาและหลักสูตร อ้างอิงจาก AHA (American Heart Association Guidelines) 2015 ,กาชาด สากล เรื่องการปฐมพยาบาล ,คำแนะนำการช่วยชีวิตของ ยุโรป (The European Resuscitation Council Guidelins) และ Consensus on Science with Treatment Recommendations(CoSTR)ปรับปรุงล่าสุด ปี 2015
คำแนะนำด้านความปลอดภัย
การรักษาผู้ป่วยที่มีอาการสำลัก ด้วยวิธี กระทุ้งท้อง (Abdominal Thrusts) และ ตบหลัง (Back Blows) ในบุคคลจริง อาจบาดเจ็บได้ ดังนั้น เราจึงไม่แนะนำ การฝึกโดยไม่ใช้อุปกรณ์การเรียนการสอน และ ควรใช้เพียงการสาธิตด้วยแรงกดที่เหมาะสม เท่านั้น
บทที่ 3 ป้องกันการสำลัก
จากการสำรวจ ใน โรงพยาบาล,โรงเรียน และ ที่ต่างๆ พบว่า สิ่งแปลกปลอมที่ ติดคอเด็กๆ อายุน้อยกว่า 4 ปี มีดังนี้
ไส้กรอก
ถั่วและ ธัญพีช
เมล็ดองุ่น
ป๊อปคอร์น
ลูกอม ลูกกว่า และหมากฝรั่ง
แยมถั่ว หรือ ชีส เหนียวๆ
ผักดิบๆ เช่น แครอท
ในไทย เรามักจะพบ ได้ตั้งแต่ ไข่ ข้าว กล้วย ฯลฯ
สิ่งแปลกปลอมอื่นๆที่พบได้อีกมีดังนี้
ลูกโป่งยางยืด
เหรียญ ทุกขนาด
หมากฝรั่ง
ลูกแก้ว ขนาด เล็กๆ
ของเล่นและเศษของเล่น ที่ตกแตกพอที่จะเข้าปากได้
กระดุม หรือ ถ่านไฟฉาย ชนิด กระดุม
ปลอกปากกา
คำแนะนำเพื่อป้องกันการสำลักจากสิ่งเหล่านี้
ตัดแบ่งอาหารเป็นชิ้นเล็กๆ สำหรับเด็ก
ดูแล เด็กน้อย ขณะทานอาหารตลอดเวลา
ไม่ควรให้เด็กวิ่งเล่นไปกินไป
เฝ้าระวัง และ ให้ความรู้เด็กที่โตกว่า ว่าห้ามให้ของเล่น ชิ้นเล็กกับน้อง
หลีกเลี้ยงซื้อของเล่นชิ้นเล็กๆ และอ่านคำแนะนำข้างกล่องของเล่นทุกครั้ง จะมีคำแนะนำบอกช่วงอายุที่เหมาะสมได้
ห้ามเด็ก จับเหรียญ หรือ วัตถุชิ้นเล็กๆ
ตรวจดูขนาดของเล่นว่าไม่เล็กจนเกินไป
ถ้าเล็กกว่าแกนทิชชู่ ของเล่นไม่ควร ขนาดเล็กกว่า 3-5 ซม. โดยเฉพาะเด็กที่อายุต่ำกว่า 3 ขวบ
บทที่ 4 เด็กสำลักมีอาการอย่างไร
ในภาวะฉุกเฉิน การสังเกต และ จดจำอาการที่สำคัญของการสำลักมีผลต่อการเข้าช่วยเหลือเป็นอย่างมี โดยเมื่อมีเศษติดคอร่างกายมักจะพยายามไอ สำลัก เศษ ออกมา โดยมักจะมีท่า กำที่คอ.
อาการอื่นๆที่พบได้
ไอแรงๆ เบาๆ แล้วมีเสียง วี๊ด ออกมาคลายนกหวีด
สีผิวของเด็กเปลี่ยนเป็นสี เขียว ม่วง เนื่องจากขาดอากาศ
เด็กจะมีสีหน้าวิตกกังวล
เด็กมักจะพูดไม่ได้ ไอไม่ออก หรือแม้กระทั่งหายใจ หากเป็นขนาดนี้ จำเป็นต้องช่วยฉุกเฉินทันที
บทที่ 5 ขอความช่วยเหลือ
เมื่อไรที่จะขอความช่วยเหลือ
ต้องดูสถานการณ์ให้ปลอดภัยก่อนที่จะทำการช่วยเหลือ เพื่อป้องกันเราเป็นผู้ประสบภัยเพิ่มเติม
หากสำลักน้อยๆ โดยยังสามารถพูดได้ไอได้ ให้ แนะนำให้ไอแรงๆ ดูแลอย่างใกลชิด และต้องพร้อม สำหรับการช่วยเหลือทันทีหากอาการแย่ลง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เด็กจะไอไม่ได้ หรือหายใจไม่ได้.
สำลักแบบรุนแรง หายใจไม่ได้ ไอไม่ออก ร้องไห้ไม่ได้ ให้เรียกรถฉุกเฉิน 1669 ทันที ขณะที่ท่านช่วยปฐมพยาบาลไปด้วย.
ไม่ควรรอให้รถพยาบาลมาถึง แล้ว ค่อยช่วยเหลือ เพราะเด็กที่มีอาการุนแรงจะขาดอากาศหายใจ และ หมดสติในที่สุด.
หากท่านอยู่คนเดียว กับเด็ก ไม่มีใครที่จะขอความช่วยเหลือได้เลย เราแนะนำให้ท่าน ช่วยปฐมพยาบาลเปิดทางเดินหายใจก่อนแล้วค่อยโทรตาม รถฉุกเฉิน หลังจาก ช่วยเด็กได้แล้ว
บทที่ 6 การปฐมพยาบาลเด็กสำลัก
ขณะที่เด็กยังมีสติควรช่วยปฐมพยาบาลได้หลายวิธี หลายเทคนิค ที่จะรักษาได้ โดยที่รู้จักกันดีใช้การ กระทุ้งท้อง(Abdominal thrusts) และการตบหลัง (Back Blows)
ในบางประเทศแนะนำให้ใช้วิธีเดียวเพื่อให้ จำง่าย เช่น ใน สหรัฐอเมริการ ให้ใช้เฉพาะวิธีการ กระทุ้งท้อง ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ในออสเตรีย แนะนำให้ใช้ทั้งสองวิธีสลับกัน
เทคนิคที่สำคัญ
ในการกระทุ้งท้อง(Abdominal thrusts) ควรทำให้แรงเร็ว ทิศทางที่ถูกต้อง คือ ต้องกดแรงและยกขึ้นด้วยทันที จะทำให้เศษ ออกมาได้โดยง่าย โดยการกระทุ้งแต่ละครั้งต้องเว้นระยะให้พอดี เพราะแรงไปอาจจะทำให้บาดเจ็บได้ และห้ามจับหรือกดบริเวณ ซี่โครงเป็นอันขาด โดยเราจะกดลงเฉพาะบริเวณหน้าท้องเท่านั้น ท่ากดที่ถูกต้องนั้นสำคัญกว่าแรงกด. โดยในการฝึกเราจะใช้เป็น โฟมอันเล็กแทนเศษสิ่งแปลกปลอม เพื่อการฝึกฝนที่สมจริง
การช่วยเหลือทารก
หากเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี วิธีการช่วยจะไม่เหมือนเด็กและผู้ใหญ่ โดยจะใช้การ Chest Thrusts และ Back slap โดยจะเรียนในหลักสูตรการ ช่วยปฐมพยาบาลเด็กทารกสำหรับคุณพ่อคุณแม่ สามารถเรียนได้ในการเรียน CPR&AED HeartSaver by Jia หรือ BLS for non-health care ของ คณะกรรมการช่วยฟื้นคืนชีพ สมาคมแพทย์โรคหัวใจ หรือ โรงพยาบาลที่ได้รับการรับรองใกล้บ้านท่าน
ขั้นตอน การกระทุ้งท้อง(Abdominal thrusts) สำหรับเด็กโต และผู้ใหญ่
ประเมินเด็ก
ถามว่าต้องการความช่วยเหลือไหม
หากเด็กตอบไม่ได้ ไอไม่ได้ ไอเบาๆ พูดไม่ออก ร้องไห้ไม่ได้ มีหายใจต้องช่วยเหลือทันที
ให้ผู้คนรอบๆ ข้างโทรสายด่วน 1669 เพื่อขอคามช่วยเหลือ
เข้าไปใกล้ๆ โดย ยืนหรือ คุกเข่า ข้างหลังเด็ก (ขึ้นอยู่กับความสูง)
ถ้าเป็นผู้ใหญ่ ให้เตะขาทั้งสองข้างของผู้สำลักออกจากกัน แล้วผู้ช่วย สอดเท้าเข้าไปตรงกลาง(เพื่อป้องกันหากหมดสติไม่ให้ล้มแล้วบาดเจ็บ)
ถ้าผู้ปกครองหรือพ่อแม่เด็กอยู่ ควรขออนุญาตก่อนทำการช่วยเหลือ
ถ้าอยู่คนเดียวแนะนำให้ ช่วยเด็กก่อน แล้วค่อยโทรเรียก 1669
วางมือตำแหน่งที่ถูกต้อง
โอบรอบด้านหลังของเด็กบริเวณเอว และคลำสะดือของเด็ก ด้วยนิ้วกลาง และวางนิ้วโป้งที่ล้ินปี่
วางมือบริเวณ ข้อที่สองของนิ้วชี้ ซึ่งอยู่ระหว่างลิ้นปี่ กับ สะดือ เด็ก
กำนิ้วโป้งไว้ในมือข้างหนึ่ง แล้วหันเข้าตัวผู้สำลัก จากนั้นใช้มืออีกข้างกำไว้แน่นๆ
กระทุ้งท้อง
กดกระทุ้งบริเวณที่จับไปทาง ลิ้นปี่ และ กดเข้าหาลำตัว จนกระทั่ง อาการดีขึ้น หายใจ ได้ พูดได้ หรือ ไอได้แรงๆ กระทุ้ง 5 ครั้งแล้วจึงหยุดดูว่ามีสิ่งแปลกปลอมในช่องปาก
ดูแลเด็กหลังจากช่วยเหลือแล้ว รอรถพยาบาลรับผู้สำลักไปรักษาต่อ
หากเด็กหมดสติ และ เศษยังไม่หลุดออกมา
วางลงบน นอนหงายพื้นราบ แน่น เรียบ
โทร 1669
กดหน้าอกปั๊มหัวใจ CPR ทันที
เรียน CPR คุณพ่อคุณแม่ คุณครู และผู้ปกครองทุกท่าน ควรเรียนการ กดหน้าอกปั๊มหัวใจ CPR เพราะว่าหากเด็กหมดสติลง การช่วยเหลือขั้นต่อไปที่สำคัญคือการปั๊มหัวใจ เพื่อเอาเศษสิ่งแปลกปลอมออก
คำแนะนำสำหรับ คุณครู และ ผู้สอน
ก่อนเปลี่ยนบทเรียนท่าน ควร ให้ฝึกปฏิบัติ โดยให้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ตั้งแต่ข้างต้น เพราะการเรียนด้วยการฟัง ย่อมไม่ดีไปกว่าการได้ทำจริง โดยท่านอาจจุแสดงให้ดู ถึงตำแหน่งมือที่ถูกต้องบนอุปกรณ์การฝึกที่เตรียมไว้
ห้ามให้นักเรียนลองทำ การกระทุ้งท้อง(Abdominal thrusts) จริง เพราจะทำให้บาดเจ็บในหลักสูตรได้
บทที่ 7 การติดตามดูอาการและการเฝ้าสังเกตอาการหลังช่วยเหลือสำเร็จ
เศษสิ่งแปลกปลอมขนาดเด็กอาจจะหลุดลงไปในทางเดินหายใจ หรือ กลืนลงท้องไปก็ได้ ซึ่งอาจจะต้องดูอาการต่อไป เพราะ หลังจากที่รอดแล้ว ทางเดินหายใจยังคงไม่ได้เปิดทันที ยังคงต้องใช้เวลาสักพักก่อนที่จะหายใจได้คล่อง
นอกจากกนี้ ขณะที่กำลังปฐมพยาบาลจริงอาจจะทำให้เด็กเจ็บได้
การดูละอย่างใกล้ชิดควรดูอาการ ปวดท้อง เจ็บหน้าอก ไม่สบายตัว ปัญหาการหายใจ ดังนั้นจึงควรไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลทุกรายไป
บทต่อไป จะนำทุกท่านไปรู้จักกับอุปกรณ์ ฝึกซ้อมปฐมพยาบาล The Act+Fast Chokin TrainerTM และวิธีการฝึกอย่างละเอียด
บทที่ 8 ฝึกการใช้ The Act+Fast Chokin TrainerTM
เด็กที่มีอายุ ตั้งแต่ 6 ขวบปี สามารถเรียนการปฐมพยาบาลช่วยสำลัก และ การปั๊มหัวใจได้ไม่ยาก ตั้งแต่ การสังเกตอาการสำลัก ร้องขอความช่วยเหลือ ปั๊มหัวใจ การใช้ AED รวมไปถึง การกระทุ้งท้อง การตบหลัง ได้
อุปกรณ์ของเรา นั้น สามารถใช้ฝึกได้ตั้งแค่ ผู้ปกครอง คุณครู คุณพ่อคุณแม่ คุณปู่ คุณย่า คุณตา คุณยาย และนักเรียนก็สามารถช่วยเพื่อนๆ ร่วมชั้นได้
การฝึก ผู้ที่แสดงเป็นผู้ป่วยนั้นใส่อุปกรณ์ The Act+Fast Chokin TrainerTM ให้พร้อมก่อนทำการฝึกสอน รัดชุดฝึกสอนบริเวณเอว และ ไหล่ให้พอดีตัว โดยให้นักเรียนคนอื่นๆ สังเกต และดูเพื่อนช่วยเหลือกัน ด้วยท่านผู้สอนต้องห้ามเด็กๆ ทำจริงๆโดยไม่ใช้ชุดฝึก และการฝึกต้องเป็นไปตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ โดยเริ่มตาม บทที่ 4-7 ตามขั้นตอนดังนี้
ประเมินเด็ก
ถามว่าต้องการความช่วยเหลือไหม
หากเด็กตอบไม่ได้ ไอไม่ได้ ไอเบาๆ พูดไม่ออก ร้องไห้ไม่ได้ มีหายใจต้องช่วยเหลือทันที
ให้ผู้คนรอบๆ ข้างโทรสายด่วน 1669 เพื่อขอคามช่วยเหลือ
เข้าไปใกล้ๆ โดย ยืนหรือ คุกเข่า ข้างหลังเด็ก (ขึ้นอยู่กับความสูง)
วางมือตำแหน่งที่ถูกต้อง
โอบรอบด้านหลังของเด็กบริเวณเอว และคลำสะดือของเด็ก ด้วยนิ้วมือ
วางมือบริเวณ ระหว่างลิ้นปี่ กับ สะดือ เด็ก
กำนิ้วโป้งไว้ในมือข้างหนึ่ง แล้ว ใช้มืออีกข้างกำแน่นๆ
กระทุ้งท้อง
กดกระทุ้งบริเวณที่จับไปทาง ลิ้นปี่ และ กดเข้าหาลำตัว จนกระทั่ง อาการดีขึ้น หายใจ ได้ พูดได้ หรือ ไอได้แรงๆ
ดูแลเด็กหลังจากช่วยเหลือแล้ว รอรถพยาบาลรับเด็กน้อยไปรักษาต่อ
วิธีอื่นเพื่อช่วยเหลือ
มีการพัฒนาการช่วยเหลือ สำหรับผู้ป่วยสำลักดังนี้
การช่วยด้วย การตบหลัง สลับกับการกระทุ้งท้อง
การตบหลัง คือ การใช้มือโอบไปด้านหน้าของผู้ป่วยแล้วให้ผู้ป่วยเอนตัวไปข้างหน้า มืออีกข้าตบลงบริเวณระหว่างสะบักทั้งสองข้าง
โดยตบหลังสลับกับการกระทุ้งท้องอย่างละ 5 ครั้ง ไปเรื่อยๆ
The Act+Fast Chokin TrainerTM สามารถเพิ่มอุปกรณ์การตบหลัง ด้วยการแปะชุดตบหลังไว้ข้างหลัง ซึ่งเป็นตำแหน่งที่สามารถใช้ ส้นมือกระแทกบริเวณ นั้นๆ ซึ่งไม่ทำให้บาดเจ็บ
ขั้นตอนการช่วยเหลือ ด้วยวิธี Back blows with Abdomianl Thrusts
จัดท่าเด็กน้อยให้เอนตัวไปข้างหน้า และให้คออยู่ต่ำกว่าหน้าอก
ตบไปที่หลังบริเวณสะบักทั้ง 2 ข้าง ด้วยส้นมือข้างที่เหลือ 5 ครั้ง
กระทุ้งท้องอีก 5 ครั้ง แล้วจึงสลับกันไป
วิธี ช่วยเหลือตนเอง
ถ้าท่านอยู่คนเดียวแล้วสำลักอาหารโดยไม่มีใครอยู่เลย
ท่านสามารถช่วยเหลือตนเองได้โดยใช้พนักพิงเก้าอี้ โดยให้ พนักพิงอยู่ตำแหน่งท้องพอดี
ขั้นตอนการช่วยตัวเองจากการสำลัก
วางท้องบริเวณพนักพิงเก้าอีก
กดตัวลงไปแน่ๆ และแรงๆ ที่พนักพิงเก้าอี้
กดซ้ำๆ จนกระทั่งหายใจได้ปกติ
วิธีช่วยเหลือผู้ป่วยในท่านั่ง
เหมือนกับตอนช่วยตอนยืน แต่ในผู้ป่วยบางราย ยืนขึ้นไม่ได้ ให้ใช้การรักษาแบบ กระทุ้งท้องคล้ายกับท่ายืนเพียงแต่ ท่านต้องย่อเข่าลงไปเพื่อกดตำแหน่งที่ถูกต้อง
สรุป
การสำลักเป็นสาเหตุการตายที่สำคัญของเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ขวบปี
การป้องกันและการให้ความรู้ เป็นสิ่งที่สำคัญมาก
สติสำคัญมากสำหรับทุกสถานการณ์ฉุกเฉิน
เด็กที่อายุมากกว่า 6 ปี สามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยสำลักได้แล้ว
เด็กที่ ไอไม่ได้ พูดไม่มีเสียง ร้องไห้ไม่ได้ ไม่หายใจ เป็นอาการต้องรีบช่วยเหลือด่วน
ท่านควรช่วยเหลือผู้ป่วยสำลักก่อน แล้ว จึงค่อยโทรสายด่วน 1669
การกระทุ้งท้องเพียงอย่างเดียวก็เพียงพอสำหรับช่วยเหลือผู้ป่วยสำลักได้แล้ว
The Act+Fast Chokin TrainerTM ช่วยให้ท่านได้ฝึกเรียนรู้ ปฏิบัติจริง
หลังจากที่ช่วยเหลือ เด็กสำลักแล้ว ควรส่งเข้าไปรับการรักษาในโรงพยาบาลทุกคน
คำถามบ่อย ตอบบ่อย
ถาม เด็กๆใช้ ชุดฝึกได้ไหม
ตอบ ใช้ได้สิ ไม่ว่าจะเป็นเด็กผู้ชายหรือผู้หญิง พี่เลี้ยงเด็ก มีรายงานหลายครั้งที่เด็กๆช่วยเหลือชีวิตเพื่อนได้
ถาม ปลั๊กโฟมใช้ซ้ำได้ไหม
ตอบ ได้สิ เราทำมาเพื่อให้ใช้ได้หลายครั้ง แต่ถ้าหาย เรามีขายนะ
ถาม ชุดซ้อม ทนแค่ไหน
ตอบ ชุด The Act+Fast Chokin TrainerTM ทนมาก ทำจาก พลาสติกอย่างดี neoprene(แบบเดียวกับชุดกันน้ำ) และ ใช้บ่อยๆ ก็ทนได้หลายปี
ถาม ทำความสะอาดได้ไหม
ตอบ ทำความสะอาดได้ง่ายมาก โดยท่านสามารถแยกชิ้นมาทำความสะอาดได้ด้วยการล้างด้วยน้ำสบู่ ตากให้แห้งก็พอ
ถาม มีประกันไหม
ตอบ มีประกัน 1 ปี หลังจากวันที่ส่งมอบ หากมีปัญหาการใช้งาน สามารถติดต่อเราได้ตลอด
ถาม ถ้าซื้อมาใช้ไม่ได้ติดต่อใครดี
ตอบ ติดต่อได้ โดยตรงที่ line: @jia1669 หรือ 090-979-1212 บริษัท เจี่ยรักษา จำกัด
ตั้งสติ และ นึกให้ดี
คุณทำได้
เจี่ย
13 ก.ค. 2566
13 ก.ค. 2566
13 มิ.ย. 2566
16 ส.ค. 2566