Last updated: 6 ส.ค. 2567 | 3522 จำนวนผู้เข้าชม |
peripheral arterial disease
เกิดจากอุดตันหลอดเลือดจากการที่หลอดเลือดแข็ง ทำให้เลือดไปเลี้ยงขาได้ไม่ดี การที่หลอดเลือดแข็งจากการคลอเรสเตอรอลอุดตันหลอดเลือดแดง เกิดได้ทั้งหญิงและชาย
สาเหตุ
ไขมันสะสมในหลอดเลือดแดง ส่งผลให้หลอดเลือดตีบ การสูบบุหรี่ เบาหวาน คลอเรสเตอรอล ความดันสูง ไม่ติดต่อสู่คนรอบข้าง
อาการ
ผู้คนกว่าครึ่งไม่มีอาการ อาการส่วนใหญ่ เช่น ปวด หดเกร็ง ปวดชา รู้สึกแน่นๆ ตัวเย็น ซีด ผิวคล้ำ คลำชีพจรไม่เจอ แผลไม่หาย ปวดเกร็งขาเกิดระหว่างออกกำลังกายบ่อย ๆ และหายไปเมื่อนั่งพัก หากหลอดเลือดถูกอุดตัน ขาจะรู้สึกปวดมากและขยับไม่ค่อยได้ ในผู้ชาย อวัยวะเพศไม่แข็งตัวได้หากหลอดเลือดบริเวณนั้นได้รับผลกระทบ
การวินิจฉัย
จากการซักประวัติตรวจร่างกาย ตรวจเลือด วัดค่าankle-brachial index ซึ่งใช้วัด ความดันโลหิตที่ปลายขา ถ้ามีค่าน้อยกว่า 1 ถือว่าผิดปกติ เครื่องมือการตรวจเช่นA treadmill test, Doppler ultrasound, angiography magnetic resonance angiography (MRA)ช่วยประเมินตำแหน่งและขนาดการตีบของหลอดเลือด
การรักษา
ลดอาการปวด ป้องกันการทำลายเซลล์ข้างเคียง หลีกเลี่ยงบุหรี่ กินอาหารที่มีประโยชน์ จำกัดเกลือ เดินออกกำลังอย่างน้อย 30-60นาที ผู้ป่วยเบาหวานกินอาหารสำหรับกลุ่มคนเบาหวาน ใช้ยาที่ช่วยเรื่องการไหลเวียนของเลือด สลายลิ่มเลือด ยาลดคามดัน และคลอเรสเตอรอล แพทย์แนะนำให้ทำangioplasty สำหรับผู้ที่หลอดเลือดตีบรุนแรง โดยการใส่ท่อเข้าไปในหลอดเลือดและใส่บอลลูนเพื่อถ่างเปิดหลอดเลือด บางคนอาจใช้วิธีทำหลอดเลือดเทียมต่อข้ามบริเวณที่อุดตัน
สิ่งที่ควรทำ
ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดคลอเรสเตอรอล เบาหวาน ความดันสูง
ควรกินอาหารที่เป็นประโยชน์ ลดแป้งลดน้ำตาล กินผลไม้ ผัก ธัญพืช
ควรลดน้ำหนัก
ควรเดินอย่างน้อย 20-30นาทีทุกวัน
ควรคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
ควรดูแลเท้า ระวังอย่าให้มีแผล หากเกิดแผลที่เท้าเรื้องรังรีบพบแพทย์
ห้ามทำ
ห้ามสูบบุหรี่เพราะเป็นสาเหตุของหลอดเลือดส่วนปลายตีบและโรคหัวใจ
28 ต.ค. 2565
17 ส.ค. 2565
19 ก.ค. 2566
17 ส.ค. 2565