Last updated: 6 ส.ค. 2567 | 8318 จำนวนผู้เข้าชม |
โรคคูสชิ่ง ซินโดรม
(CUSHING’S SYNDROME) เป็นโรคของต่อมหมวกไตผลิตฮอร์โมนคอติซอลมากผิดปกติ ซึ่งฮอร์โมนนี้ช่วยควบคุมความดันและ ภาวะเครียดของร่างกาย เกิดได้กับทั้งหญิงและชายแต่มักเกิดในหญิง อายุ 25-45ปี ซึ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดโรค เบาหวาน ความดัน กระดูกพรุน และอ้วนได้
สาเหตุ
การที่มีออร์โมนคอร์ติซอลมากเกินอาจจะเป็นผลจากได้รับยาจำพวกที่ใช้รักษา หอบหืด หลอดลมอักเสบ ข้ออักเสบ หรืออาจจะมีเนื้องอกที่ผลิตฮอร์โมนนี้ออกมามากก็เป็นได้ เช่นเนื้องอกต่อมใต้สมองส่วนหน้า เนื้องอกที่ต่อมหมวกไต หรือที่อื่นๆ
อาการ
มีน้ำหนักเกิน หน้ากลม มีไขมันหนารอบคอ แขนขาเล็ก เด็กจะโตช้าและอ้วน จะมีรอยแตกสีม่วงๆตามบริเวณท้อง ขาแขน และเต้านมผิวแตกง่ายหายยาก กระดูกบางและเปราะ ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงทำให้มีขนขึ้นตามหน้า คอ อก ท้อง และต้นขาในเพศหญิง ประจำเดือนมาผิดปกติ เสื่อมสมรรถภาพในผู้ชาย อาการอื่นๆเช่น ปัสสาวะบ่อย เหนือยมากกว่าปกติ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ความดันสูง นิสัยอารมณืเปลี่ยนไป รู้สึกวิตกกังวล ซึมเศร้าเป็นต้น
การวินิจฉัย
ตรวจร่ายและเก็บเลือดและปัสสาวะไปตรวจซึ่งหากพบคอลติลสูงหมอต่อมไร้ท่อจะเข้ามาดูแลต่อ ทำCT MRI scan ที่ท้องเพื่อมองหาเนื้องอกบริเวณต่อมหมวกไตหรือ สมองเพื่อดูเนื้องอกบริเวณต่อมใต้สมองส่วนหน้า
การรักษา
หากเกิดยาเป็นสาเหตุแพทย์จะลดขนาดยาเพื่อลดฮอร์โมนคอลติซอลลง หรือให้ยาที่ระงับอาการที่เกิดจากคอลติซอล สำหรับสาเหตุเกิดจากเนื้องอก จำเป็นต้องผ่าตัด ฉายแสง และให้ยาคีโม หากไม่พบสาเหตุจริงๆ เพียงแต่นำต่อมหมวกไตออกและให้กินฮอร์โมนคอลติซอลทดแทน อาการจะดีขึ้นอยู่กับอากรป่วย และระดับคอลติซอลในเลือด
สิ่งที่ควรทำ
ควรใช้ฮอร์โมนcorticosteroidในปริมาณน้อยๆ
ควรพบแพทย์ตามนัด เพื่อตรวจน้ำตาลในเลือด ความดัน และมวลกระดูก
ควรแจ้งแพทย์หากคุณมีภาวะซึมเศร้าและดื่มแอลกอออล์เป็นเป็นประจำ
ควรหาแพทย์ที่เชี่ยวชาญในการผ่าตัดหากจำเป็นต้องผ่า
ควรกินอาหารที่มีแคลลอรี่และไขมันต่ำ
ควรรีบแจ้งแพทย์หากมีคุณมีไข้ ติดเชื้อ มีรอยช้ำเพิ่มหรือน้ำหนักตัวมากขึ้นกว่าเดิม
ควรรีบแจ้งแพทย์หากรุ้สึกอ่อนแรงหรือเวียนหัวหลังผ่าตัด
ห้ามทำ
ห้ามต่อต้านการรักษา
ห้ามกินมากเกินไป
ห้ามใช้เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว หรือผ้าปูที่นอนร่วมกับผู้อื่น
6 ก.ย. 2564
21 ก.ย. 2565
19 พ.ค. 2564
3 มี.ค. 2564