Last updated: 6 ส.ค. 2567 | 21774 จำนวนผู้เข้าชม |
ภาวะฮอร์โมนแอลโดรสเตอโรนมาก
(ALDOSTERONISM) เกิดจากการที่ต่อมหมวกไตผลิตฮอร์โมนแอลโดรสเตอโรมากเกินไป ทำให้เกิดความดันเลือดสูงและแร่ธาตุโปรแตสเซียมต่ำ
สาเหตุ
ฮอร์โมนแอลดดรสเตอโรนเป็นมีผลกับความดัยเลือดและสารน้ำในร่างกาย โดยเพิ่ม แร่ธาตุโซเดียม และน้ำในเลือดและขับโปรแตสเซียมออกทางไต แบ่งออกเ็นสองชนิดคือprimary และsecondary ซึ่งprimary เกิดจาการผลิตฮอร์โมนมากเกินจากต่อมหมวกไตเองเนื่องจากการเจริญของเนื้องอกต่อมหมวกไต เรียกว่า adrenoma
อาการ
มีภาวะความดันสูง อ่อนแรงตะคริว คลื่นไส้ ท้องผูก กล้าเนื้อเกร็ง ปัสสาวะบ่อย ซึ่งบางคนก็ไม่มีอาการอะไรเลย
การวินิจฉัย
ตรวจร่างกายพบความดันสูงและ แร่ธ่าตุโปรแตสเซียมต่ำ ซึ่งฮอร์โมนแอลโดรสเตอโรนสูงตรวจจากเลือด และปัสสาวะ และ ตรวจเฉพาะคือ plasma renin จะช่วยบอกว่าเป็นprimary หรือsecondary ซึ่งหมอต่อมไร้ท่อต้องเข้ามาช่วยดูอาการและรักษา MRI CT scan ทำเพื่อดูลักษณะความผิดปกติของต่อมหมวกไต
การรักษา
ถ้าไม่รักษาภาวะนี้จะไม่สามารถควบคุมความดันให้ปกติได้ ซึ่งมีความเสี้ยงที่จะเป็นโรคหัวใจและและโรคเส้นเลือดสมองแตกได้ เนื่องจากแร่ธาตุโปรแตสเซียมต่ำจึงมีผลกับการเต้นของหัวใจ ซึ่งการรักษาต้องทำการผ่าตัดเอาเนื้องอกบริเวณต่อมหมวกไตออก ในกรณีที่เกิดจากเนื้อเยื่อต่อมหมวกไตเพิ่มจำนวนทั้งสองข้างจะไม่สามารถเอาออกได้เพราะผลข้างเคียงร้ายแรงกว่า
สิ่งที่ควรทำ
ควรทำตามกระบวนการรักษา เพิ่มเกลือในทุกมื้ออาหาร หรือ กินเม็ดยาที่เป็นเกลือเฉพาะเพื่อตรวจ
ควรแจ้งแพทย์ก่อนหากมีประวัติโรคหัวใจก่อนเริ่มการรักษาด้วยการกินอาหารที่มีเกลือ
ควรหาแพทย์ที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับผ่าตัดเนื้องอกต่อมหมวกไตหากจำเป็นต้องผ่าออก
ควรรีบแจ้งแพทย์หาก ผู้ป่วยชายมีหน้าอก เสื่อมสมรรถภาพ คลื่นไส้ ซึม ขณะที่กินยา spinololactone
ควรรีบแจ้งแพทย์หากเกิดตะคริวหรือ หัวใจเต้นเร็ว อาจจะเกิดจากระดับโปรแตสเซียมในเลือดต่ำ
ควรรีบแจ้งแพทย์หาก รู้สึกอ่อนแรงมากๆๆ และเหนื่อยเวลาลุกขึ้นยืน คุณอาจจะต้องการฮอร์โมนเพิ่มเติมหลังจากการผ่าตัด
ห้ามทำ
ห้ามปล่อยให้แร่ธาตุโปรแตสเซียมในร่างกายต่ำ โดยเฉพาะคนที่กินยาขับปัสสาวะ ควรกินอาหารที่แพทย์อย่างเคร่งครัด และตรวจเลือดดูระดับโปรแตสเซียมสม่ำเสมอ
3 มี.ค. 2564
21 ก.ย. 2565
6 ก.ย. 2564
19 พ.ค. 2564