Last updated: 6 ส.ค. 2567 | 7769 จำนวนผู้เข้าชม |
อีสุกอีใส (Chickenpox)
เป็นโรคติดต่อทางผิวหนังและเนื้อเยื่อ ส่วนใหญ่มักเกิดในกลุ่มคนอายุน้อยๆ เช่นในอายุเด็ก2-8ปี ถ้าเกิดในผู้ใหญ่อาการของโรคจะรุนแรงกว่าและยาวนานกว่า
บุคคลทั่วไปสามารถสร้างภูมิคุ้มกันมาเพื่อกำดจัดไวรัสตัวนี้เมื่อมีการติดเชื้อในครั้งแรกและเพื่อไม่ให้ติดเชื้อซ้ำ สำหรับบางคนโรคอาจจะพัฒนากลายเป็น โรคงูสวัด ( herpes zoster) โรคอีสุกอีใสสามารถเกิดขึ้นมาอีกได้ถ้าภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง
มีวัคซีนภูมิคุ้มกันสำหรับป้องกันโรคอีสุกอีใสและงูสวัด
สาเหตุ
เกิดจากเชื้อไวรัส vericella-zoster herpes บุคคลทั่วไปสามารถได้รับเชื้อได้หากมีผู้ป่วยที่ติดเชื้ออยู่ใกล้ๆ ซึ่งเชื้อสามารถแพร่ทางการหายใจ ในขณะเดียวกันสามารถได้รับเชื้อจากผู้ป่วยโดยตรงจากการสัมผัสแผลตามผิวหนัง
อาการ
ระยะเชื้อขยายตัวในช่วง7-21วันหลังได้รับเชื้อ ผู้ป่วยจะเริ่มมีไข้ต่ำๆ น้ำมูกไหล มีอาการไอ ปวดหัว อ่อนเพลีย อยากอาหารลดลง ซึ่งตุ่มแดงจะขึ้นตมร่างกายประมาน2-3 วัน หลังจากนั้นจะกลายเป็นผื่นตุ่มน้ำใส คัน และจะแห้งกลายเป็นสเก็ดแผลในอีก4-5วันถัดมา บางคนก้ตุ่มแดงขึ้นเล็กน้อย บางคนก็ขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยทั่วไป โรคอีสุกอีใสมีระยะติดต่อ1-2วันก่อนจะมีตุ่มน้ำใสแดงลามขึ้นเป็นเวลา6วัน ผู้ป่วยจะมีรอยแผลตามปาก หูและ ตาทั้งสองข้าง
การวินิจฉัย
แพทย์ดูจากอาการที่แสดงและลักษณะของผื่นที่ขึ้นตามร่างกาย
การรักษา
เด็กที่สุขภาพดีอยู่แล้วไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาอะไรเป็นพิเศษซึ่งสามารถหายเองได้ อาจจะใช้ acetaminophen เพื่อลดไข้ และ ห้ามให้แอสไพรินโดยเด็ดขาด ยาแก้แพ้หรือคาลามายด์ ช่วยลดอาการคัน แนะนำกินอาหารอ่อนๆและพักผ่อนให้เพียงพอ และเพื่อป้องกันหารแพร่กระจายเชื้อ ควรแยกผู้ป่วยจนกระทั่งแผลตกสเก็ด กลุ่มคนที่เสี่ยงที่จะติดเชื้อรุนแรง คือ กลุ่มคนที่ภูมิคุ้มกันต่ำ(ผู้ป่วยที่เคยปลูกถ่ายไขกระดูก,โรคลูคีเมีย) อาจจะต้องกินยาเพื่อป้องกัยภาวะแทรกซ้อนจาโรคอีสุกอีใส
สิ่งที่ควรทำ
ควรพบแพทย์ทันทีในขณะตั้งครรภ์และพบว่าได้รับเชื้อ
ควรล้างมือสม่ำเสมอ ซักผ้าปู สวมเสื้อผ้าที่ผ่านการอบความร้อน
ควรใช้ยาลดไข้ที่ไม่ใช่แอสไพริน
ควรแจ้งพยาบาลและผู้ปกครองของเด็กที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยเพื่อให้ทราบว่ามีโอกาสติดเชื้อ
ควรกินยาแก้แพ้ หรือใช้ฟองน้ำถูตัว เพื่อลดอาการคัน
ควรพบแพทย์ทันทีเมื่อมีไข้สูง101F หรืออ่อนแรงปวดหัว ตอบสนองต่อแสงไวมากขึ้น
ควรพบแพทย์เมื่อมีอาการอาเจียน นอนไม่ได้ กระวนกระวายเกิดขึ้น และความรู้สึกตัวลดลง
ห้ามทำ
ห้ามให้ผู้ป่วยอยู่ใกล้เด็กและสตรีมีครรภ์ ผู้สูงอายุ หรือ คนที่ภูมิคุ้มกันต่ำ
ห้ามให้ผู้ป่วยไปโรงเรียน ลาหยุดอย่างน้อย6วันหลังจาก มีตุ่มน้ใสสีแดงเกิดขึ้นจนกระทั่งแผลแห้งและตกสเก็ด
ให้แอสไพรินกับเด็กอายุน้อยกว่า16ปีเพราะเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดโรค Reye's syndrome
12 มิ.ย. 2566
19 ก.ค. 2566
16 ส.ค. 2566
16 ส.ค. 2566