Last updated: 6 ส.ค. 2567 | 5892 จำนวนผู้เข้าชม |
มะเร็งเนื้อเยื่อมดลูก
ตำแหน่งของมดลูกอยู่ระหว่างกระเพาะปัสสาวะและลำไส้ส่วนปลาย เนื้อเยื่อชั้นในมดลูก เรียกว่า ชั้นendometrium ซึ่งเซลล์มะเร็งจะเกิดขึ้นในชั้นนี้
หากไม่ได้เกิดเป็นมะเร็งแล้วไม่ได้รักษา เซลล์มะเร็งจะรุกลามไปทั่วอุ้งเชิงกรานซึ่งรวมไปถึง ลำไส้และกระเพาะปัสสาวะ หากยังแพร่กระจายต่อไปสู่ต่อมน้ำเหลือง และเกิดเป็นมะเร็งในส่วนอื่นของร่างกายเช่น ท้อง ตับ ปอด และกระดูก
สาเหตุ
ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด โดยทั่วไปมักเกิดในหญิงอายุ55ปี และ70ปี แต่สามารถเกิดในผู้หญิงวัยเจริญพันธ์ได้เช่นกัน ซึ่งความเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็ง อาทิเช่น น้ำหนักเยอะ เป็นเบาหวาน ไม่เคยผ่านการตั้งครรภ์ กินฮอร์โมนทดแทนในสัยที่หมดประจำเดือน
อาการ
อาการหลักที่พบคือมีเลือดออกจากช่อวคลอดหลังจาก เข้าสู่วัยหมดประจำเดือนไปแล้ว สำหรับหญิงวัยเจริญพันธุ์ จะมีเลือดออกมากหรือน้อยกว่าปกติในขณะที่มีรอบประจำเดือน
การวินิจฉัย
แพทย์จะซักประวัติและตรวจร่างกาย โดยตรวจอุ้งเชิงกรานและทำอัลตร้าซาวด์ทางช่องคลอด และเพื่อความแม่นยำในการวินิจฉัยแพทย์จะต้องใช้เครืาองมือขูดนำชิ้นเนื้อมดลูกไปตรวจ ซึ่งมะเร็งแบ่งตามระดับความรุนแรง ระดับความรุนแรงสามารถบอกได้ว่า เซลล์มะเร็งขยายตัวและแพร่กระจายไปส่วนอื่นๆแล้วหรือไม่ ซึ่ง ระยะแรก เซลล์มะเร็งจะอยู่เฉพาะภายในมดลูก ระยะที่สอง เซลล์มะเร็งจะรุกรามสู่ปากมดลูก ระยะที่สาม เซลล์รุกรามถึง ช่องคลอด รังไข่และช่องท้อง ระยะที่สี่ เซลล์มะเร็งรุกลามถึงกระเพาะปัสสาวะและลำไส้ส่วนปลาย การตรวจเลือด การเอกซเรย์ปอด การทำCT scanช่องท้องและอุ้งเชิงกราน จำเป็นต้องทำเพื่อดูการลุกลามของเซลล์มะเร็ง
การรักษา
การผ่าตัด ฉายแสง กินฮอร์โมน ให้เคมีบำบัด วิธีเหล่านี้ใช้เป็นการรักษาทั้งสิ้นซึ่งขึ้นอยู่กับระยะความรุนแรงของมะเร็ง ส่วนมากมะเร็งมดลูกชั้นนี้เกิดในระยะแรกถึงระยะที่สอง และต้องทำการผ่าตัดเอามดลูก ท่อนำไข่ และรังไข่ออก. การฉายแสงอาจจะให้หลังจากนั้น ซึ่งการรักษาทั้งสองแบบมีผลข้างเคียง ส่วนการกินฮอร์โมนทดแทนและการให้เคมีบำบัด แนะนำควรทำในผู้ป่วยที่มีการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง ซึ่งก็สามารถเกิดผลข้างเคียงๆด้เช่นกัน
สิ่งที่ควรทำ
ควรเข้าใจว่า การผ่าตัดยกมดลูกออกไม่มีผลต่อการมีเพศสัมพันธ์
ควรเข้าไว้ว่า ผู้ป่วยจะไม่มีประจำเดือนและจะมีอาการเหมือนคนวัยทองคือ ร้อนวูบวาบ เหงื่อแตก และอื่นๆ เมื่อรังไข่ของผู้ป่วยถูกตัดออกไปด้วย
ควรนัดติดตามอาการหลังจากการรักษาเผื่อเช็คผลการรักษาหรือมีการเป็นซ้ำหรือไม่
ควรพบแพทย์หากผู้ป่วยมีเลือดออกทางช่องคลอดหรือสารคัดหลั่งมีความผิดปกติ
ควรพบแพทย์ทันทีหากคุณมีผลข้างเคียงจากการรักษา
ห้ามทำ
ห้ามเพิกเฉยเมื่อเลือดออกมากผิดปกติทางช่องคลอด
ห้ามเพิกเฉยหากอยู่ในวัยที่หมดประจำเดือนแล้วมีเลือดออกจากช่องคลอด
3 มี.ค. 2564
24 เม.ย 2566
20 พ.ย. 2564
18 ส.ค. 2565