Last updated: 6 ส.ค. 2567 | 12997 จำนวนผู้เข้าชม |
ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด
ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนดเป็ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงสำหรับการตั้งครรภ์ รกจะหลุดลอกออกจากผนังด้านในของมดลูกก่อนถึงกำหนดคลอด ซึ่งแบ่งออกได้ 3ชนิด แบ่งเป็น ระดับ1,2 และ3 ที่ซึ่งบ่อบอกความรุนแรงของโรค รกที่ลอกตัวจากผนังมดลูก ไม่สามารถทำให้กลับไปเกาะกับผนังเหมือนเดิมได้ ถ้าไม่สามารถรักษาภาวะนี้ได้ทันจะมีผลกระทบต่อแม่และเด็ก โดยที่ออกซิเจนและสารอาหารไปเลี้ยงทารกลดลงและ แม่เลือดออกมากผิดปกติ ดังนั้นจึงเป็นภาวะแทรกซ้อนที่ต้องรีบบทำการผ่าตัดเอาเด็กออกมาก่อนกำหนด ซึ่งถือว่า เป็นภาวะเร่งด่วนทางการแพทย์
สาเหตุ
ยังไม่ทราบแน่นอนแต่ไม่ได้เกิดจากพันธุกรรม ความเสี่ยที่ทำให้เกิดได้ อาทิเช่น ความดันสูง. ได้รับการกระแทกรุนแรง ตั้งครรภ์มาหลายครั้ง การตั้งครรภ์ที่ผิดปกติที่เรียกว่า chorioamnionitis และpolyhydramnios ถือว่าเป็นความเสี่ยงเช่นเดียวกัน เกิดในอายุช่วงน้อยกว่า20และมากกว่า35 ภาวะความดันสูงขณะตั้งครรภ์ เบาหวาน สูบบุหรี่ ใช้สารเสพติดประเภทโคเคน และมีประวัติดื่มแอลกอฮอล์มากขณะตั้งครรภ์
อาการ
อาการหลักๆอาทิเช่น เลือดออกทางช่องคลอด มดลูกหดรัดตัวผิดปกติ หรือ fetal distress ซึ่งขึ้นอยู่กับ การตรวจทางแล็บ และการตรวจการเต้นของหัวใจทารก การหดรัดตัวและอ่อนแรง ความดันต่ำ หัวใจเต้นเร็ว ปวดท้อง ปวดหลังได้ ความรุนแรงระดับ1 จะมีอาการมดลูกบีบตัวและเลือดออกเล็กน้อย ชีพจรคงที่ อัตราเต้นของหัวใจทารกคงที่ การตรวจแล็บ coagulation profile อยู่ในระดับปกติ ระดับความรุนแรงที่2 เริ่มมดลูกหัวตัวและเลือกออกมากขึ้น ความดันเริ่มตก ทารกอยู่ในภาวะเครียด และ coagulation profile เริม่ผิกปกติ ระดับควมมรุนแรงที่3 เป็นระดับที่รุนแรงที่สุด การหดรัดตัวของมดลูกรุนแรงและเลือดออกมาก ความดันต่ำ ทารกเสียชีวิต coagulation profile แย่มา
การวินิจฉัย
วินัจฉัยจากการซักประวัติและตรวจร่างกาย การตรวจเลือด และการตรวจอื่นๆ ถ้าสามารถตัดความน่าจะเป็นโรคอื่นๆออกไปได้แล้ว สงสัยว่าเกิดภาวะนี้ จึงทำการตรวจ อัลตร้าซาวทางหน้าท้อง และติดเครื่องตรวจสอบอัตราการเต้นของหัวใจทารก เผื่อสังเกตภาวะfetal distress
การรักษา
ให้แม่รักษาตัวในรพ.ให้อยู่ในภาวะปกติก่อน ให้สารน้ำและยาควบคุมความดันและการขับปัสสาวะให้ปกติ ซึ่งการผ่าตัดทางช่องท้องเพื่อเอาทารกออหเป็นภาวะเร่งด่วน และควรเตรียมถุงเลือดให้พร้อใก่อนการผ่าตัดจะเริ่ม
สำหรับเด็กที่ใกล้ครบกำหนดคลอด หรือ แค่ได้รับความรุนแรงระดับแรก อาจจะสามารถคลอดทางช่องคลอดได้ ยาเฉพาะสำหรับรักษาทั้งแม่และเด็กยังต้องให้ขณะทำการรักษา
สิ่งที่ควรทำ
ควรโทรหาคลินิกที่ตัวเแงฝากคครภ์เมื่อรู้สึกวูบๆหรือหะวใจเต้นเร็วและปวดท้อง
ควร รัดเข็มขัดทุกครั้งขณะนั่งรถยนต์เพื่อป้องกันการกระแทก
ควร ไปคลินิกฝากครรภ์และ ติดตามต่อเนื่อง
ควรได้รับการรักษาหากแม่เป็นเบาหวาน หรือความดัน
ห้ามทำ
ห้ามใช้ยาต้มยาหม้อหรือยาสมุนไพร โดยที่ไม่ได้ปรึกษาแพทย์
ห้ามสูบบุหรี่ขณะตั้งครรภ์
ห้าม ดื่มแอลกอฮอล์.หรือใช้ยาเสพติด เช่นโคเคนเป็นต้น
25 เม.ย 2566
18 พ.ค. 2566
17 พ.ค. 2566
17 พ.ค. 2566