มะเร็งปากมดลูก

Last updated: 6 ส.ค. 2567  |  7583 จำนวนผู้เข้าชม  | 

มะเร็งปากมดลูก

มะเร็งปากมดลูก

              ปากมดลูกคือส่วนปลายของตัวมดลูก เปรียบเสมือน
ประตูทางผ่านเข้าสู่ภายในมดลูก มะเร็งปาดมดลูก จะพัฒนาเซลล์มะเร็งบริเวณนี้ หากจะตรวจหามะเร็งปากมดลูกจะใช้วิธีที่เรียกว่า การทำpap test ซึ่งช่วยเพิ่มโอกาสในการรักษาได้ทันเวลา

สาเหตุ 
   ความเสี่ยงที่เกิดขึ้น เช่น การมีเพศสัมพันธ์ก่อนอายุ18 เปลี่ยนคู่นอนหลายคน สูบบุหรี่ ใช้ยาคุมกำเนิด หรือเด็กที่แม่เคยกินdiethylstilbestrol (DES) ระหว่างตั้งครรภ์ ผู้ที่ได้รับเชื้อ HPV ซึ่งส่งต่อจากการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีเชื้ออยู่เดิม
อาการ
  โดยปกติ จะไม่พบอาการจนกระทั่งเซลล์มะเร็งมีขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งจะพบเลือดออกทางช่องคลอดหรือเลือดออกขณะมีเพศสัมพันธ์ อาจจพพบสารคัดหลั่งจากช่องคลอดได้ มะเร็งที่ซึ่งลุกลามเนื้อเยื่อบริเวณใกล้เคียงสามารถทำให้ปวดหลังได้ ปัสสาวะบ่อย ลำไส้เคลื่อนไหวเปลี่ยนไปจากเดิม
การวินิจฉัย 
  การทำpap smear มีความแม่นยำและรวดเร็วถึง95% ที่ค้นพบเซลล์มะเร็งปากมดลูก ผู้หญิง อายุมากกว่า20 ปี (หรืออ่อนกว่าในกรณีเคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อน) ควรตรวจ ด้วยpap smear สม่ำเสมอ อย่างน้อยจนกระทั่งถึงอายุ65
ถ้าการตรวจpap smear ผิดปกติ ,แผนกนรีเวช จะใช้กล้องเพื่อทำcoloposcopy (เพื่อตรวจดูเซลล์ที่ผิดปกติบริเวณปากมดลูก) และถ้าจำเป็นต้องตัดชิ้นเนื้อเผื่อตรวจสอบ จะได้ทำทันทีเพื่อนำไปตรวจอีกที

การรักษา 
  ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของเซลล์มะเร็ง ซึ่งระดับความรุนแรงหมายถึงการที่เซลล์มะเร็งแพร่กระจายถึงส่วนใดและมีเซลล์มะเร็งจำนวนมากแค่ไหน ระดับ.0-4ขึ้นอยู่กับเซลล์มะเร็งแพร่ไปไกลขนาดไหน ซึ่งแพทย์จะใช้การตรวจอุ้งเชิงกราน การตรวจเลือดและปัสสาวะ การเอ็กซเรย์ และการทำCT เพื่อตรวจสอบระดับความรุนแรง นอกจากนั้นวิธีการตรวจเช่นcystoscope และprotosigmoidoscopy (เป็นวิธีการตรวจโดยใช้ไฟส่องบริเวณ รูปัสสาวะหรือรูทวารพร้อมสอดลำกล้องเข้าไปตามลำดับ.)
การรักษา อาจจะร่วมด้วย การผ่าตัด การฉายแสง การให้เคมีบำบัด เซลล์มะเร็งระดับแรกๆใช้การรักษาโดยใช้เลเซอร์หรือให้ความเย็น(cryotherapy) หรือตัดออก เซลล์มะเร็งในระยะท้ายๆจำเป็นต้องผ่าตัดเช่น ทำhysterectomy(ผ่าตัดยกมดลูกออก) การฉายแสง การให้เคมีบำบัด

    สิ่งที่ควรทำ
ควร เข้าใจว่าการได้รับสารอาหารที่ดีมีความสำคัญหลังจาก ทำการผ่าตัด ฉายแสงและให้เคมีบำบัด
ควรได้รับความเข้าใจว่ามีแพทย์หลายสาขาวิชาร่วมรักษา
ควรพบแพทย์ทันที มีเลือดออกผิดปกติ
ควรพบแพทย์ทันทีเมื่อรุ้สึกมีอาหารปวด ลำใส้หรือกระเพาะปัสสาวะผิดปกติ มีสารคัดหลั่งออกจากช่องคลอด หรือมีไข้หลังจากผ่าตัด
ควรพบแพทย์ ทันทีเมื่อมีอาการร้อนวูบวาบ ช่องคลอดแห้งและรุ้สึกเจ็บขณะร่วมเพศ
ควรติดต่อกับบุคคลากรที่สามารถช่วยบริการเช่น แผนกกายภาพบำบัด โฮมแคร์ ไฟแนนซ์ และการขนส่ง


   ห้ามทำ
ห้าม ขาดการติดตามอาการตามหมอนัด
ห้ามลืมที่จะทำให้ตัวเองแอคทีฟและออกกำลังกายเป็นประจำซึ่งทำให้เกิดผลดีกับตัวโรคด้วย

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้