Last updated: 6 ส.ค. 2567 | 4752 จำนวนผู้เข้าชม |
แผล
แผล
เมื่อมีบาดแผลเกิดขึ้น ร่างกายของคนเราจะมีกลไกในการซ่อมแซมตนเอง แม้ว่าการหายของแผลจะเป็นกระบวนการตามธรรมชาติ แต่จำเป็นต้องอาศัยปัจจัยหลายประการ
1. เลือกรับประทานอาหารที่มีคุณค่า หรือประโยชน์ต่อร่างกาย กระบวนการหายของแผลจะไม่เป็นไปตามปกติ หากขาดสารอาหารดังต่อไปนี้
- โปรตีน ช่วยในการสร้างใยคอลลาเจน และช่วยลดโอกาสที่ร่างกายจะติดเชื้อได้ด้วย
- วิตามินซี ช่วยในการสังเคราะห์ใยคอลลาเจนและเส้นเลือด เช่น ส้ม, ฝรั่ง , มะเขือเทศ
- วิตามินเอ ช่วยในการสังเคราะห์ใยคอลลาเจน และการงอกของหนังกำพร้า พบในปลา, ตับ, นม
- สังกะสีและทองแดง จำเป็นในการงอกของหนังกำพร้า และการสังเคราะห์ใยคอลลาเจน พบมากในเครื่องในสัตว์ โดยเฉพาะตับ, ไข่, เนื้อสัตว์, ปลา, ถั่ว, ผักใบเขียว เป็นต้น
2. หลีกเลี่ยงความเครียด ภาวะเครียดทั้งกายและใจ จะทำให้แผลหายช้าลง เนื่องจากภาวะเครียดทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมน แอดรีนาลิน(Adrenaline)มากขึ้น ซึ่งฮอร์โมนนี้ทำให้การงอกของเนื้อเยื่อลดลง
3. งดสูบบุหรี่ บุหรี่ทำให้เม็ดเลือดแดงนำออกซิเจนไปสู่เซลล์หรือเนื้อเยื่อที่แผลลดลง โดยเฉพาะแผลที่เกิดกับปลายมือปลายเท้า การไหลเวียนจึงไม่ดีทำให้แผลได้รับสารอาหารลดลง
4. ในขณะที่อากาศเย็นควรประคบความร้อน ให้ตำแหน่งที่เป็นแผลอุ่นขึ้น ความร้อนจะทำให้เส้นเลือดขยายตัว ช่วยให้เลือดมาเลี้ยงแผลมากขึ้น
5. ควรให้ส่วนที่เป็นแผลได้พัก เช่น การคล้องแขนไว้, การดาม, การใส่เฝือก เป็นต้น ทำให้เนื้อเยื่อบริเวณบาดแผลใช้ออกซิเจนอย่างมีประสิทธิภาพขึ้น และทำให้เชื้อโรคไม่แพร่กระจายไปสู่ส่วนอื่นๆ
6. การทำแผลอย่างถูกต้องและเหมาะสม คือ ไม่ควรทำแผลบ่อยเกินไป หรือเช็ดแผลไม่ถูกเทคนิค เช่น เช็ดแผลแรงเกินไป หรือการดึงผ้าปิดแผลที่ติดแผลโดยขาดความระมัดระวัง จะทำให้เนื้อเยื่อที่กำลังงอกตาย หรือเส้นเลือดฝอยที่กำลังงอกผ่านเข้ามาที่ผ้าปิดแผลฉีกขาด ทำให้กระบวนการหายของแผลต้องล่าช้าออกไป นอกจากนั้น การเลือกน้ำยาใส่แผลที่ไม่เหมาะสม ก็จะทำให้เซลล์ตายได้เช่นเดียวกัน
16 ส.ค. 2566
16 ส.ค. 2566
16 ส.ค. 2566
16 ส.ค. 2566