Last updated: 6 ส.ค. 2567 | 7253 จำนวนผู้เข้าชม |
คู่มือ การฟื้นคืนชีวิตเบื่องต้น ในสถานประกอบการ
การฟื้นคืนชีพ
การใช้เครื่องฟื้นคืนคลื่นไฟฟ้าหัวใจด้วยไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ*
*ที่มา ประกาศคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉินในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒ หน้า ๑๑ ตอน พิเศษ ๑๐๘ ง
การฟื้นคืนชีพ และ การใช้เครื่องฟื้นคืนคลื่นไฟฟ้าหัวใจด้วยไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ(เครื่องช๊อคไฟฟ้าหัวใจ)
จุดประสงค์
1. เพื่อใช้การฟื้นคืนชีพและเครื่องฟื้นคืนคลืนหัวใจด้วยไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ ได้อย่างทันท่วงที
2. เพื่อใช้การฟื้นคืนชีพและเครื่องฟื้นคืนคลืนหัวใจด้วยไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ ได้อย่างถูกต้อง
หัวข้อสำคัญ ดังนี้
1. การฟื้นคืนชีพและเครื่องฟื้นคืนคลืนไฟฟ้าด้วยหัวใจแบบอัตโนมัติ ในผู้ใหญ่
2. การช่วยผู้ใหญ่เมื่อสำลัก
การฟื้นคืนชีพและเครื่องฟื้นคืนคลืนไฟฟ้าด้วยหัวใจแบบอัตโนมัติ ในผู้ใหญ่
จุดประสงค์
1. เพื่อจะได้ฟื้นคืนชีวิตได้ทันท่วงที
2. เพื่อที่จะได้ฟื้นคืนชีวิตได้อย่างถูกต้อง
3. เพื่อที่จะใช้เครื่องฟื้นคืนคลืนหัวใจด้วยไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ ได้อย่างถูกต้องและทันท่วงที
นิยาม
- การฟื้นคืนชีวิต(ปั๊มหัวใจ) คือ การดันเลือดจากหัวใจไปเลี้ยงหัวใจและสมอง ด้วยการกดหน้าอกและการช่วยหายใจ
- สำหรับผู้ประสบภัยที่มีภาวะเป็นวัยรุ่น ให้ใช้การฟื้นคืนชีวิตแบบผู้ใหญ่ได้ทันที
- ปลุกตื่น (ตอบสนอง) คือ เมื่อตบบ่า ผู้ประสบภัย ขยับ พูด กระพริบตา หรือท่าทีอื่นๆที่แสดงว่ายังรู้สึกตัวอยู่
- การใช้ เครื่องฟื้นคืนคลืนหัวใจด้วยไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ (เครื่องช๊อคหัวใจ)คือ เครื่องมือปฐมพยาบาล*ที่ใช้สำหรับเปลี่ยนคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ผิดปกติ กลับเป็น คลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ปกติ โดยอัตโนมัติ ทำให้ ผู้ประสบภัยมีโอกาสรอดสูงขึ้น
หัวข้อสำคัญ ดังนี้
I. การปั๊มหัวใจ
II. การใช้ เครื่องฟื้นคืนคลืนหัวใจด้วยไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ (เครื่องช๊อคหัวใจ)
III. การประเมินผู้ประสบภัย และโทรเรียก 1669/รถพยาบาล/กู้ชีพ
IV. การปฏิบัติจริง
*ที่มา ประกาศคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉินในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒ หน้า ๑๑ ตอน พิเศษ ๑๐๘ ง
การปั๊มหัวใจ(การฟื้นคืนชีพ)
นิยาม
ประกอบด้วย
1. การกดหน้าอกเป็นการดันเลือดจากหัวใจ ไปเลี้ยงสมองและตัวหัวใจเอง เป็นส่วนสำคัญในการรอดชีวิต
2. การช่วยหายใจ เป็นการดันอากาศเข้าไปในปอดเพื่อให้มีอากาศในเลือดมากขึ้นเพื่อไปเลี้ยงสมองและหัวใจ
การกดหน้าอก
นิยาม
การกดหน้าอก คือการกดบริเวณ ระหว่างหัวนม หรือ กลางกระดูกหน้าอก ของผู้ประสบภัย เพื่อให้เลือดดันไปเลี้ยงหัวใจและสมองถ้ากดเบาแรงดันเลือดจะไม่เพียงพอไปเลี้ยงสมองและหัวใจ ถ้ากอดช้าแรงดันเลือดก็จะไปเลี้ยงสมองและหัวใจไม่พอ
ดังนั้นการกดหน้าอก ต้องเร็วและแรง จึงจะทำให้ผู้ประสบภัยมีโอกาสฟื้นได้ไวขึ้น
ไม่ต้องกังวลว่าผู้ประสบภัยจะเจ็บเพราะขณะเรากดหน้าอก ผู้ประสบภัยจะไม่รู้สึกตัว
ขั้นตอนปฎิบัติ การกดหน้าอก
1. วางผู้ประสบภัยนอนราบบนพื้นที่เรียบ และ แน่น
2. ปลดเสื้อออก
3. วางผ่ามือซ้าย(สันมือ)บนหน้าอกบริเวณระหว่างหัวนมหรือ กลางกระดูกหน้าอกของผู้ประสบภัย แล้ววางฝ่ามือขวาทับมือข้างซ้าย
4. กดบนหน้าอกผู้ประสบภัยตรงๆลึกอย่างนั้น 2 นิ้ว เร็ว 100 ครั้งต่อนาที
5. จังหวะเด้งกลับให้หน้าอกเด้งกลับตำแหน่งเดิมทุกครั้ง
ควรรู้
การกดหน้าอกจะเหนื่อยมากกก ถ้ากดต่อเนื่องหลังจาก 2 นาทีมักเมื่อยล้า
ดังนั้น ถ้ามีผู้ช่วย ควรให้ผู้ช่วยสลับกันกดหน้าอกทุก 2 นาที เวลาเปลี่ยนคนควรเร็วกว่า 10 วินาที
การช่วยหายใจ
นิยาม
การช่วยหายใจ เป็นการดันอากาศเข้าไปในปอดเพื่อให้มีอากาศในเลือดมากขึ้นเพื่อไปเลี้ยงสมองและหัวใจ
สำคัญมากรองจากการกดหน้าอก
หากให้ลมหายใจแล้วหน้าอกขยับแสดงว่าช่วยหายใจสำเร็จแล้ว
จะให้ช่วยหายใจได้จำเป็นต้องเปิดทางเดินหายใจก่อน ดังนั้นจักมีขั้นตอนดังนี้
1. เปิดทางเดินหายใจ
2. ให้ลมหายใจ
การเปิดทางเดินหายใจ
ขั้นตอนปฏิบัติ การเปิดทางเดินหายใจ
1. ใช้มือวางบนหน้าผาก แล้วใช้มืออีกข้างจับบริเวณคาง
2. กดศีรษะลง แล้วเชยคางขึ้น
ข้อสำคัญ
ไม่ควรกดหรือจับบริเวณคอโดยเด็ดขาด ให้จับได้เฉพาะคางเท่านั้น
การให้ลมหายใจ
ขั้นตอนปฏิบัติ ให้ลมหายใจ
1. เปิดทางเดินหายใจ แล้วบีบจมูกทั้งสองข้างโดยการจับที่ปีกจมูก
2. ให้ลมหายใจโดยการเป่าจากปากสู่ปาก
3. ให้ลมหายใจทั้งหมด 2 ครั้ง(อย่างน้อยครั้งละ 1 วินาที)
4. สังเกต การขยับของหน้าอก
ข้อสำคัญ
- ถ้าให้ลมหายใจแล้วหน้าอกไม่ขยับให้เปิดทางเดินหายใจใหม่อีกครั้ง แล้วจึงค่อยให้ลมหายใจซ้ำ
- หากช่วยหายใจแล้วหน้าอกไม่ขยับ ใน 10 วินาที ให้กดหน้าอกทันที ไม่ควรพยายามเปิดทางเดินหายใจอีก รอจนครบ 2 นาทีแล้วจึงพยายามซ้ำ
การใช้หน้ากากช่วยหายใจ
นิยาม
เพื่อป้องกันการติดเชื้อโรค และ เป็นการแพร่กระจายเชื้อในสถานประกอบการ จึงควรมีหน้ากากช่วยหายใจในสถานประกอบการ
หน้ากากช่วยหายใจเป็นหน้ากากที่ทำด้วยวัสดุชนิดพิเศษ นิ่ม ขนาดพอดีครอบหน้าของผู้ประสบภัยได้พอดี มีลิ้นเปิด-ปิดทางเดียว เพื่อป้องกันไม่ให้มีการติดเชื้อจากผู้ประสบภัย เข้าสู่ อาสาฟื้นคืนชีพ
ขั้นตอนปฎิบัติ การช่วยหายใจโดยใช้หน้ากาก
1. วางหน้ากากครอบ ปาก และ จมูก ผู้ประสบภัย ให้แนบสนิทกับหน้าผู้ประสบภัย
2. กดหน้าผาก และ เชยคางผู้ประสบภัย โดยให้หน้ากากแนบสนิทกับผู้ประสบภัย
3. ให้ลมหายใจ 2 ครั้ง ครั้งละ 1 วินาที
4. สังเกต หน้าอกของผู้ประสบภัยขณะให้ลมหายใจ
ควรรู้ การวางหน้ากาก
1. ด้านแหลมให้วางอยู่ด้านจมูก
2. ด้านป้านให้วางอยู่ด้านคาง
การใช้เครื่องฟื้นคืนคลื่นหัวใจด้วยไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ(เครื่องช๊อคไฟฟ้าหัวใจ)(AED)
นิยาม
เมื่อคลื่นไฟฟ้าหัวใจทำงานผิดปกติไป เครื่องฟื้นคืนคลืนหัวใจด้วยไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ(เครื่องช๊อคไฟฟ้าหัวใจ)(AED) ซึ่งมีระบบประมวลผลพิเศษจะทำหน้าที่วิเคราะห์ คลื่นไฟฟ้าหัวใจ หากมีความผิดปกติที่สามารถแก้ไขได้ เครื่องจะทำการปล่อยกระแสไฟฟ้าเพื่อทำให้คลื่นไฟฟ้าหัวใจกลับมาทำงานได้ปกติอีกครั้ง ซึ่งจะทำให้การปั้มหัวใจมีประสิทธิภาพสูงสุด
ดังนั้นการใช้เครื่องฟื้นคืนคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบอัตโนมัติ(AED) ในนาทีแรกสามารถทำให้ผู้ประสบภัยมีโอกาสรอดสูงขึ้น
ปัจจุบันตัวเครื่องมี ความแม่นยำสูง ใช้ง่าย ปลอดภัยมาก สำคัญ มีภาษาไทยแล้ว ดังนั้นทุกครั้งที่ติดเครื่องจะมีการอธิบายการใช้เป็นภาษาไทย สำหรับการใช้ในเมืองไทยจึงสดวกมากขึ้น เช่น หากจทำการปล่อยกระแสไฟฟ้า จะมีเสียงบอกว่า “ห้ามแตะต้องผู้ประสบภัย” สำหรับความปลอดภัยของอาสาที่จะช่วยผู้ประสบภัย
นอกจากนี้ ยังมีรูปแสดงให้เห็นชัดเจน แผ่นแปะหน้าอกจะมีรูปให้เห็นชัดว่า ต้องแปะบริเวณไหนของผู้ประสบภัยให้ใช้งานง่ายขึ้น
แค่เพียงเปิดฝาเครื่องเครื่องจะเปิดอัตโนมัติ หากต้องปล่อยกระแสไฟฟ้า ก็จะมีปุ่มให้กดเพียงปุ่มเดียว ป้องกันการสับสนจากการใช้งานของอาสาฯ
ขั้นตอนปฏิบัติ
1. เปิดฝาเครื่อง ถอดเสื้อผู้ประสบภัย
2. แปะแผ่น บนหน้าอกผู้ประสบภัยตามคำแนะนำ
3. รอทำตามคำสั่นที่ได้ยินจากเครื่อง
ข้อสำคัญ
- เมื่อเครื่องให้ กดปุมปล่อยกระแสไฟควรพิจารณาให้เร็วที่สุด
- ก่อนกดปุ่มควรบอกให้ทุกคนออกห่างจากผู้ประสบภัย
- หลังกดปุ่มปล่อยกระแสไฟ แล้ว ควร ปั้มหัวใจต่อทันที
การประเมินผู้ประสบภัย และโทรเรียก 1669/รถพยาบาล/กู้ชีพ
นิยาม
ถ้าพบผู้ป่วยปลุกไม่ตื่น ไม่หายใจ ถ้าไม่แน่ใจ ให้ปั้มหัวใจไปก่อนเพราะหากปล่อยไว้ผู้ประสบภัยก็ไม่รอด อยู่ดี
ประเมินสถานการณ์
ขั้นตอนปฏิบัติ การประเมินสถานะการณ์
ควรดูรอบๆตัวอาสาฯ และ ตัวผู้ประสบภัยว่าปลอดภัยก่อนเข้าไป จะต้องปลอดภัย หากไม่ปลอดภัยให้ท่านเรียกทีมกู้ภัยเข้ามาช่วยดีกว่า เพื่อความปลอดภัยของตัวอาสาเอง
ปลุกผู้ประสบภัย
ขั้นตอนปฏิบัติ การปลุกผู้ประสบภัย
1. ตบบ่าผู้ประสบภัย พร้อมเรียก “คุณๆ ตื่นๆ”
2. สังเกตดูผู้ประสบภัยหากไม่ขยับ ไม่พูด ไม่กระพริบตา ให้ถือว่าปลุกไม่ตื่น
ขอความช่วยเหลือ
ขั้นตอนปฏิบัติ ขอความช่วยเหลือ
1. ถ้าปลุกไม่ตื่นแล้ว จำเป็นต้องขอความช่วยเหลือ
2. ตะโกนเรียกขอความช่วยเหลือจากคนรอบข้าง(ถ้ามีเรียกว่า”ผู้ช่วย”)
3. ให้อาสาหรือผู้ช่วย โทรเรรียก 1669
4. ให้อาสาหรือผู้ช่วย หยิบ AED มาด้วย
ข้อสำคัญ
อย่าเพิ่งวางสายจนกว่า 1669 จะให้วางสาย เพราะเจ้าหน้าที่จะมีคำถามสำคัญที่ต้องให้อาสาหรือผู้ช่วยตอบให้ครบเพื่อไม่ให้การช่วยเหลือล่าช้า
ตรวจดูการหายใจ
ขั้นตอนปฎิบัติ การตรวจดูการหายใจ
1. ผู้ประสบภัยที่ปลุกไม่ตืน ให้ดูการหายใจ โดยดูการเคลื่อนไหวของหน้าอก
2. หากหน้าอกเคลื่อนไหว แต่มีการหายใจแบบพะงาบ
3. หายใจแบบพะงาบ คือการที่ผู้ประสบภัยอ้าปาก หรือ ขยับกราม หัว หรือ คอ เพื่อที่พยาบามดูดอากาศแต่ไม่มีแรงพอที่จะดูดอากาศเข้าปอด หรือช้ามาก มีเสียงคล้ายการกรน
4. พะงาบ เป็นการหายใจที่ผิดปกติ เป็นอาการแสดงว่ามี ภาวะที่ต้องปั้มหัวใจทันที
ข้อควรรู้
ถ้าผู้ประสบภัยหายใจอยู่ปกติ แต่ปลุกไม่ตื่น ให้ พลิกตัวผู้ประสบภัยตะแคง แล้วรอ ทีมฉุกเฉิน หรือรถพยาบาลมารับตัวไป
การตะแคงผู้ประสบภัยช่วยเปิดทางเดินหายใจและป้องกันการสำลักลงปอด
แต่ถ้าหายใจแบบพะงาบควรปั้มหัวใจทันที
ปั้มหัวใจ
นิยาม
เน้นย้ำว่า การปั้มหัวใจต้องประกอบไปด้วยการกดหน้าอก 30 ครั้ง และ ช่วยหายใจ 2 ครั้ง โดย การกดหน้าอกต้องลึกอย่างน้อย 2 นิ้ว เร็ว 100 ครั้งต่อนาที ทุกครั้งควรให้หน้าอกเด้งกลับสุด
ขั้นตอนปฎิบัติ การปั้มหัวใจ
1. ประเมินสถานะการณ์ว่าปลอดภัย
2. ให้ตบบ่าผู้ประสบภัยเบาๆ แล้วตะโกนเรียก ผู้ประสบภัย
3. ตะโกนร้องขอความช่วยเหลือโทรเรียก 1669ตามรถพยาบาล
4. หยิบเครื่องฟื้นคืนคลื่นหัวใจด้วยไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ(AED)
5. ตรวจดูการหายใจ
6. ปลุกไม่ตื่นและไม่หายใจ ให้ปั้มหัวใจทันที
7. กดหน้าอก 30 ครั้ง(ลึก 2 นิ้ว เร็ว 100 ครั้งต่อนาที) ให้เด้งกลับสุดทุกคั้ง
8. เปิดทางเดินหายใจ แล้ว ให้ลมหายใจ 2 ครั้ง(นานครั้งละ 1 วินาที)
9. ปั้มหัวใจ 30 ครั้ง สลับ ช่วยหายใจ 2 ครั้ง จนกว่าเครื่องฟื้นคืนคลื่นหัวใจด้วยไฟฟ้าอัตโนมัติจะมาถึง หรือ หน่วยกู้ภัย รถพยาบาล ทีม1669 จะมาถึง
สรุปขั้นตอน ปั้มหัวใจและเครื่องฟื้นคืนคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบอัตโนมัติ
1. ประเมินสถานะการณ์ว่าปลอดภัย
2. ให้ตบบ่าผู้ประสบภัยเบาๆ แล้วตะโกนเรียก ผู้ประสบภัย
a. ดูว่าตื่นไหม
b. ถ้าไม่ตื่นให้ข้ามไปข้อ 3.
3. ขอความช่วยเหลือ
a. ตะโกนขอความช่วยเหลือ
b. ถ้ามีคนช่วย ให้ผู้ช่วยโทรเรียก 1669 ตามรถพยาบาล หรือ ทีมกู้ชีพ
c. ถ้าไม่มีคนช่วย ให้โทรเรียก 1669 ตามรถพยาบาล หรือ ทีมกู้ชีพ เอง
4. หยิบเครื่องฟื้นคืนคลื่นหัวใจด้วยไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ(AED)
a. ถ้ามีคนช่วย ให้ผู้ช่วยหยิบ AED
b. ถ้าไม่มีคนช่วย ให้ไปหยิบ AED เอง
5. ตรวจดูการหายใจ
a. วางผู้ประสบภัยนอนราบบนพื้นที่แน่นและเรียบ
b. สังเกตว่าหายใจไหม ดูจากเคลื่อนไหวของหน้าอก
i. ถ้าไม่หายใจหรือหายใจแบบพะงาบให้ปั้มหัวใจทันที
ii. ถ้าหายใจให้ตะแคงผู้ประสบภัยแล้วรอจนกว่าทีมกู้ชีพหรือรถพยาบาลมาถึง
6. ปลุกไม่ตื่นและไม่หายใจ ให้ปั้มหัวใจทันที
a. กดหน้าอก
i. ปลดเสื้อออก
ii. วางผ่ามือซ้าย(สันมือ)บนหน้าอกบริเวณระหว่างหัวนมหรือ กลางกระดูกหน้าอก ของผู้ประสบภัย แล้ววางฝ่ามือขวาทับมือข้างซ้าย
iii. กดบนหน้าอกผู้ประสบภัยตรงๆลึกอย่างนั้น 2 นิ้ว เร็ว 100 ครั้งต่อนาที
iv. จังหวะเด้งกลับให้หน้าอกเด้งกลับตำแหน่งเดิมทุกครั้ง
v. กดหน้าอก 30 ครั้ง(ลึก 2 นิ้ว เร็ว 100 ครั้งต่อนาที) ให้เด้งกลับสุดทุกคั้ง
b. เปิดทางเดินหายใจ
i. ใช้มือวางบนหน้าผาก แล้วใช้มืออีกข้างจับบริเวณคาง
ii. กดศีรษะลง แล้วเชยคางขึ้น
c. ให้ลมหายใจ
i. เปิดทางเดินหายใจ แล้วบีบจมูกทั้งสองข้างโดยการจับที่ปีกจมูก
ii. ให้ลมหายใจโดยการเป่าจากปากสู่ปาก
iii. ให้ลมหายใจทั้งหมด 2 ครั้ง(อย่างน้อยครั้งละ 1 วินาที)
iv. สังเกต การขยับของหน้าอก
7. ปั้มหัวใจ 30 ครั้ง สลับ ช่วยหายใจ 2 ครั้ง จนกว่าเครื่องฟื้นคืนคลื่นหัวใจด้วยไฟฟ้าอัตโนมัติจะมาถึง หรือ หน่วยกู้ภัย รถพยาบาล ทีม1669 จะมาถึง
8. เมื่อมีเครื่องฟื้นคืนคลื่นหัวใจด้วยไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ(AED)
a. เปิดฝาเครื่อง ถอดเสื้อของผู้ประสบภัยออก
b. แปะแผ่น บนหน้าอกผู้ประสบภัยตามคำแนะนำ
c. รอทำตามคำสั่นที่ได้ยินจากเครื่อง
9. จะหยุดก็ต่อเมื่อ
a. ทีมฉุกเฉิน รถพยาบาล หรือ ทีมกู้ชีพจะมาถึง แล้วรับผู้ประสบภัยไป
b. ระหว่างนั้นให้ ทำตามเครื่อง โดยการกดหน้าอก ช่วยหายใจ ปล่อยกระแสไฟฟ้าตามเครื่อง AED แนะนำอย่างต่อเนื่อง
28 ก.ย. 2559
14 ก.ย. 2559