Last updated: 6 ส.ค. 2567 | 7808 จำนวนผู้เข้าชม |
หัวใจเต้นและการหายใจเป็นพื้นฐานของการมีชีวิต
ระบบการหายใจและระบบไหลเวียนเลือด จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ของมนุษย์ ซึ่งต้องอาศัยอวัยวะสำคัญ คือ ปอดและหัวใจ ในการแลกเปลี่ยน และ นำพาออกซิเจนไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย เมื่อใดก็ตามที่ ไม่หายใจ การทำงานของปอดและหัวใจก็จะล้มเหลว จะนำไปสู่การเสียชีวิตเนื่องจากขาดออกซิเจนไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ
การทำงานของปอดและหัวใจล้มเหลว เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น บาดเจ็บอย่างรุนแรง ขาดอากาศหายใจ จมน้ำ สำลักควันไฟ สิ่งแปลกปลอม อุดกลั้นทางเดินหายใจ นอกจากนี้หัวใจเองก็ทำงานล้มเหลวได้จากหลายสาเหตุเช่นกัน เช่น ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หัวใจวาย หัวใจหยุดเต้น หัวใจได้รับการบาดเจ็บ ฟ้าผ่า ไฟฟ้าช็อค เป็นต้น
เมื่อปอดและหัวใจทำงานล้มเหลว ส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากอวัยวะต่างๆ ขาดออกซิเจน ทำให้สูญเสียการทำงานและจะค่อยตายลงไป โดยเฉพาะสมองและหัวใจ จะตายเร็วที่สุด ภายในระยะเวลา 3-5 นาทีเท่านั้น
ในระยะแรกที่หัวใจก่อนจะหยุดเต้นจะมีภาวะการนำไฟฟ้าหัวใจที่ผิดปกติไป โดยภาวะนี้เรียกว่า หัวใจเต้นแบบสั่นพริ้ว จำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยการใช้ไฟฟ้าช็อกหัวใจโดยทันทีเพื่อให้การทำไฟฟ้าหัวใจกลับมาเป็นปกติ ทำให้โอกาสการรอดชีวิตสูงขึ้น 70% เมื่อเทียบกับการกดหน้าอกที่ช่วยได้เพียง 20% ดังนั้นปัจจุบันเราจึงระบุการใช้เครื่องมือนี้เพื่อช่วยเหลือคนหัวใจหยุดเต้นในที่สาธารณะ
ในการแพทย์แล้วเรามักจะใช้ได้โดยแพทย์เท่านั้น แต่ปัจจุบันนี้มีการประดิษฐ์เครื่องมือชนิดนี้ใช้ได้โดยง่าย ทำให้คนธรรมดาสามารถใช้ได้ เราเรียกว่า “เครื่องกระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ” หรือ AED
เนื่องด้วย ประกาศคณะกรรมการแพทย์ฉุกเฉิน เรื่องกกำหนดให้การใช้เครื่องฟื้นคืนคลื่นหัวใจด้วยไฟฟ้าแบบอัตโนมัติเป็นการปฐมพยาบาล ไว้สำหรับเริ่มต้นกระทำการเพื่อรักษาชีวิตหรือช่วยเหลือผู้ป่วย)กเฉินขณะรอคอยปฎิบัติการแพทย์จากผู้ประกอบวิชาชีพ หรือ ผู้ช่วยเวชกรรม ณ ที่เกิดเหตุการณ์และขณะเคลื่อนย้ายผู้ป่วยฉุกเฉิน ดังนั้นแล้ว บุคคลทั่วไปสามารถใช้เครื่องฟื้นคืนคลื่นหัวใจด้วยไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ ได้
ด้วยในเทคโลโนยีในปัจจุบันเครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจสามารถ แสดงผลการปฏิบัติ โดยภาพและเสียง(Chest Compression feedback)ขณะกดหน้าอกเพื่อให้การช่วยเหลือที่ดีมีประสิทธิภาพ ทำให้สามารถมีการแสดงผลตามเวลาจริง โดยจะมีการบันทึกร่วมกับบอกถึงคุณภาพขณะการทำ การกดหน้าอกฟื้นคืนชีพ(CPR; Cardiopulmonary Resuscitation)ได้ ข้อมูลที่สำคัญเหล่านี้สามารถนำมาใช้ได้จริงขณะช่วงระหว่าง CPR โดยคุณภาพการทำ CPR จะขึ้นกับอัตราการกดหน้าอก ความลึก การปล่ยหน้าอกกลับสู่ตำแหน่งเดิมและการหยุดกดหน้าอกที่น้อยที่สุด ได้มีการศึกษาการใช้เครื่องแสดงผลการปฎิบัติของการ CPR สามารช่วยให้อัตราการรอดชีวิตสูงขึ้นได้ จึงบรรจุเรื่องของ Chest compression feedback อยู่ในมาตรฐานการช่วยชีวิต ปี 2015
การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานและการใช้เครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจ มีจุดประสงค์เพื่อให้มีออกซิเจนและเลือดไปเลี้ยงอวัยวะสำคัญอย่างเพียงพอ ก่อนที่อวัยวะจะสูญเสียการทำงานและตายลง เพื่อที่จะยื้อเวลาให้ยาวนานเพียงพอที่จะให้แพทย์มีเวลาในการหาสาเหตุ และรักษาได้ทันท่วงทีก่อนอวัยวะต่างๆ จะตาย
ดังนั้น การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน คือ กระบวนการดูแลผู้ป่วยเบื้องต้น เพื่อทำให้อวัยวะสำคัญมีออกซิเจนและเลือดไปเลี้ยงอย่างเพียงพอก่อนอวัยวะนั้นจะตาย เพื่อประวิงเวลาให้แพทย์รักษาได้ทันท่วงที
14 ก.ย. 2559
28 ก.ย. 2559
28 ก.ย. 2559
30 ก.ค. 2567