Last updated: 6 ส.ค. 2567 | 3475 จำนวนผู้เข้าชม |
หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ
ห้องหัวใจเอเทรียมคือห้องบนสุดของหัวใจ ห้องเวนทริเคิลโพรงคือห้องด้านล่าง ใน atrial flutter เริ่มเต้นอย่างรวดเร็วเนื่องจากมีแรงกระตุ้นทางไฟฟ้าผิดปกติมากเกินไป ห้องเอเทรียมพยายามหดตัว แต่เป็นการหดตัวที่เร็วเกินไปอาจเต้นได้ถึง 300 ครั้งต่อนาที แทนที่จะเป็น 60 ถึง100 Atrial flutter มักเกิดขึ้นในผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย
สาเหตุ
โรคต่าง ๆ สามารถทำให้หัวใจห้องเต้นผิดปกติหรือ Atrial flutter ได้ โรคเกี่ยวกับหัวใจและปอด โรคไทรอยด์ และความผิดปกติของลิ้นหัวใจมักพบบ่อยที่สุดที่เกี่ยวข้องกับ atrial flutter
อาการ
อาการหลักคือใจสั่น เหมือนกับหัวใจเต้นแข่งกัน เหนื่อย และอาจเป็นลม การเจ็บบริเวณหัวใจแบบ Angina และหัวใจล้มเหลวสามารถเกิดขึ้นได้เนื่องจากเลือดไปเลี้ยงหัวใจน้อย รวมถึงการหายใจผิดปกติ แน่นหน้าอก เป็นลมจากหัวใจล้มเหลวได้เช่นกัน
วินิจฉัย
แพทย์0tmedkiซักประวัติ ตรวจร่างกาย และตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG) ยืนยันการวินิจฉัย จากการทำ Echocardiography ตรวจดูการเคลื่อนที่ของหัวใจห้องบนว่ามีลิ่มเลือดหรือไม่ แพทย์อาจต้องการส่งผลแล็บ เพื่อแยกแยะความผิดปกติอื่น ๆ เช่นต่อมไทรอยด์ที่ทำงานมากเกินไป
การรักษา
การรักษามีจุดมุ่งหมายเพื่อแก้ไขสาเหตุของการรบกวนจังหวะอัตราการเต้นของหัวใจ และป้องกันลิ่มเลือด การรักษาจังหวะการเต้นของหัวใจตามปกติเป็นอีกเป้าหมายหนึ่งการรักษาขึ้นอยู่กับอาการและสาเหตุ ยาช่วยควบคุมอัตราการหดตัวของหัวใจห้องล่างและพยายามปรับกลับจังหวะปกติของหัวใจ ถ้าอาการแย่ลง อาจต้องช็อกไฟฟ้าหัวใจ ขั้นตอนนี้เรียกว่า cardioversion แบบใช้กระแสไฟฟ้า โดยจะไฟฟ้าช็อตชั่วครู่ หัวใจจะหยุดการทำงานและทำให้จังหวะการเต้นของหัวใจปกติอีกครั้งหากมาตรการทั้งหมดนี้ไม่ได้ผล แพทย์อาจแนะนำการตรวจEPS โดย แพทย์โรคหัวใจ เชี่ยวชาญในปัญหาจังหวะการเต้นของหัวใจทำการทดสอบนี้ EPS อาจช่วยแพทย์ตัดสินใจเกี่ยวกับการรักษาอื่น ๆตัวเลือกต่าง ๆ เช่น การตัดด้วยคลื่นความถี่วิทยุ การใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ และการผ่าตัด
สิ่งที่ควรทำ
ควรหยุดสูบบุหรี่
ควรลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ควรรับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำและดีต่อสุขภาพหัวใจ
ควรลดน้ำหนักหากคุณมีน้ำหนักเกิน
ควรความเครียดของคุณ ความเครียดอาจทำให้คุณแย่ลง
ควรปรึกษาแพทย์ของคุณถ้าคุณมีผลข้างเคียงจากยาหรือมีอาการใหม่หรือแย่ลง. ซึ่งรวมถึงอาการเจ็บ
หน้าอก หายใจถี่ ปัญหาการหายใจ เป็นลม ใจสั่น การเปลี่ยนแปลงความสามารถในการพูด กิน เดิน หรือใช้แขน
ขาของคุณ
ห้ามทำ
ห้ามทำนกิจกรรมที่ทำให้ฟกช้ำถ้าคุณทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด
ห้ามหยุดรับประทานยาหรือเปลี่ยนขนาดยาเว้นแต่แพทย์ยินยอม
ห้ามใช้ยาใด ๆ (รวมทั้งที่จำหน่ายหน้าเคาน์เตอร์และผลิตภัณฑ์สมุนไพร) โดยไม่แจ้งแพทย์ทราบก่อน
21 ก.ย. 2565
18 ส.ค. 2565
17 ส.ค. 2565
17 ส.ค. 2565