Last updated: 6 ส.ค. 2567 | 7121 จำนวนผู้เข้าชม |
ลิ้นไตรคัสปิดรั่ว
ไตรคัสปิดอยู่ระหว่างห้องบนขวา และล่างขวา ในหัวใจ ลิ้นหัวใจเปิดเมื่อเลือดจากห้องบนลงไปห้องล่าง และเกิดการสะท้อนกลับไปห้องบนจึงเป็นสาเหตุให้หัวใจห้องบนทำงานหนัก
สาเหตุ
เกิดไม่บ่อย ส่วนใหญ่เกิดที่ลิ้นอื่น ความผิดปกติที่ลิ้นไตรคัสปิดมักเป็นที่อื่น เป็นสาเหตุของห้องบนขวามีขนาดใหญ่ขึ้น และเพิ่มแรงดันของหลอดเลือดบริเวณปอด การติดเชื้อที่หัวใจ เช่นไข้รูมาติก bacterial endocarditis ผู้ป่วยที่เป็นวัยรุ่น มักมีความผิดปกติมาตั้งแต่กำเนิด
อาการ
ผู้ป่วยที่มีโรคลิ้นไตรคัสปิดรั่วมักไม่มีอาการ อาการจะแสดงออกมาเมื่อก่อโรคระยะเวลาเป็นปี เช่น ขา เท้า หรือ ท้องบวม การหายใจมีปัญหาโดยเฉพาะเวลานอน ไอเป็นเลือด แน่นหน้าอก อ่อนแรง เหนื่อย ปัสสาวะน้อยลง บางคนมีอาการหัวใจเต้นพริ้ว หรือ AF นั่นคือหัวใจห้องบนบีบไม่ปกติ ทำให้เกิดลิ่มเลือด และอาจไม่อุดตันเส้นเลือดสมองได้
การวินิจฉัย
การซักประวัติ ตรวจร่างกาย ฟังหัวใจได้ยินเสียงผิดปกติหรือ murmur เป็นตัวส่งสัญญาณบอกว่าลิ้นหัวใจไหนผิดปกติ และวินิจฉัยจากอื่น ๆ เช่น echo CXR ECG เป็นต้น
การรักษา
ขึ้นกับความรุนแรง อายุ อาการไม่รุนแรงไม่ต้องรักษา หากมีหัวใจเต้นพริ้ว ควรให้ยาสลาบลิ่มเลือด สำหรับ ภาวะหัวใจล้มเหลว ให้ยา diuretic เพื่อลดปริมาณน้ำในเลือดไม่ให้หัวใจทำงานหนัก นาขยายหลอดเลือดให้กรณีหัวใจแย่มาก ๆ หากลิ้นไตรคัสปิดรั่วรุนแรงต้องทำการใส่ลิ้นเทียม
สิ่งที่ควรทำ
ควรกินยาตามแพทย์สั่ง
ควรจำกัดน้ำและเกลือ
ควรออกกำลังกายเท่าที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำ
ควรแจ้งแพทย์หากมีผลข้างเคียงจากยาหรือมีอาการใหม่เช่น แน่นหน้าอก หายใจสั้น ใจสั่น ขาบวมท้องบวม
หากกินยาป้องกันเลือดแข็งตัว แล้วเลือดออกไม่หยุดเมื่อมีบาดแผลหรือศีรษะกระทบกระเทือนรุนแรง
ห้ามทำ
ห้ามฝีนหากออกกำลังเล็กน้อยแล้วมีอาการมากขึ้น
ห้ามหยุดยาเอง
21 ก.ย. 2565
17 ส.ค. 2565
18 ส.ค. 2565
17 ส.ค. 2565