Wolff-Parkinson-White (WPW) syndrome

Last updated: 6 ส.ค. 2567  |  23461 จำนวนผู้เข้าชม  | 

Wolff-Parkinson-White (WPW) syndrome

Wolff-Parkinson-White (WPW) syndrome


   คือภาวะที่กระแสไฟฟ้าหัวใจเพิ่มผิดปกติ การเต้นของหัวใจเร็วผิดปกติ พบบ่อยในกลุ่มคนอายุ20ปี และเป็นสาเหตุของหัวใจเต้นเร็วในเด็กและทารก

สาเหตุ 
  พบได้แต่กำเนิด กระแสไฟฟ้าเกินในห้องเอเตรียมหรือห้องส่วนบนของหัวใจและเวนทริเคิลห้องล่างของหัวใจ เป็นผลให้หัวใจเต้นเร็วมากกว่าปกติเรียกว่า SVT

อาการ
  อาการเกิดเมื่อหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ดังนั้นอาจจะเกิดขึ้นทันทีเป็นวินาทีหรือเป็นชั่วโมง เกิดขึ้นบ่อยเมื่อการออกกำลังกาย อาการเกิดเมื่อเกิดอาการต่าง ๆ ได้แก่ หัวใจเต้นเร็วใจสั่นหรือหัวใจเต้นรัว มึนงง เจ็บหน้าอก อ่อนเพลีย  เป็นลม เวียนศีรษะ วิตกกังวล การสูญเสียสติและปัญหาการหายใจ เสียชีวิตอย่างกะทันหัน

การวินิจฉัย 
  หากแพทย์สงสัยว่า WPW syndrome  ประวัติการรักษา แพทย์ใช้คลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG) จะมีรูปแบบแสดงคลื่นเดลต้าที่ผิดปกติ การทดสอบทำได้ผลดีที่สุดในขณะที่มีอาการ แพทย์อาจต้องการการทดสอบอื่น ๆ เช่นการตรวจสอบ Holter ซึ่งเป็นการทดสอบECG ตลอด 24 ชั่วโมง การทดสอบความเครียดในการออกกำลังกายและ electrophysiology อาจทำร่วมด้วย

การรักษา

  อาการเล็กน้อยไม่จำเป็นต้องรักษา บางคนชะลอจังหวะการเต้นของหัวใจโดยการทำvagal maneuvers เช่น ไอ  การวางน้ำแข็งไว้บนหน้า ยิ่งต้องรักษาหากมีอาการเป็นลม มึนหัว แน่นหน้าอก การเต้นหัวใจที่เร็วมาก อาจถึงชีวิตได้ การใช้ยา จะใช้ยา antiarrhythmic  และแนะนำการรักษาด้วยradiofrequency catheter ablation การสอดสายเข้าไปในหลอดเลือดบริเวณขาเข้าสู่หัวใจ การรักษาอื่น ๆ เช่น cardioversion และ surgery ส่วนcardioversion ใช้เมื่อการรักษาอื่นไม่สำเร็จ



    สิ่งที่ควรทำ

ควรหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ คาเฟอีน แอลกอฮอล์ pseudoephedrine ยาแก้แพ้ amphetamines,  cocaine

ควรบอกแพทย์ หากหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ

ควรไปตามนัดแพทย์


   ห้ามทำ

ห้ามหยุดกินยาหรือเปลี่ยนขนาดยาหากแพทย์ไม่อนุญาต

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้