โรคซาลโมเนโลซิส salmonellosis

Last updated: 6 ส.ค. 2567  |  8836 จำนวนผู้เข้าชม  | 

โรคซาลโมเนโลซิส salmonellosis

โรคซาลโมเนโลซิส salmonellosis


          คือการติดเชื้อแบคทีเรียsalmonellaในกระเพาะและลำไส้ บางคนได้รับเชื้อไม่รุนแรงจะดีขึ้นเองภายใน4-7วันโดยที่ไม่ต้องรักษา สามารถเกิดการแพร่เชื้อได้หลายคนหากกินอาหารเหมือนๆกันเช่น ในร้านอาหาร บางรายถึงขั้นท้องร่วงรุนแรง จำเป็นต้องให้สารน้ำเพื่อทดแทน

สาเหตุ 
    เกิดจากได้รับเชื้อจากกินอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อsalmonella โดยเฉพาะ ในไข่ เนื้อวั ว ผลไม้ นมหรือน้ำที่มีเชื้อปน  การปรุงอาหารผ่านความร้อนช่วยลดการติดเชื้อ และเชื้อนี้ยังอยู่ตามห้องน้ำหากไปใช้ห้องน้ำแล้วไม่ล้างมือให้สะอาดก็จะได้รับเชื้อได้
อาการ
    อาการหลักๆคืออาการท้องร่วง ประมาณ2-3ครั้งต่อวัน ถ้าหากรุนแรงอาจจะท้องร่วงทุกๆ10-15นาที อาจจะมีเลือดปนมากับอุจจาระ ท้องแข็งเกร็ง อาเจียน ไข้ ปวดหัว

การวินิจฉัย 
    โดยการตรวจอุจจาระ เลือด และปัสสาวะ การตรวจเลือดเพื่อตัดสาเหตุของโรคอื่นๆออกไป

การรักษา 
    การติดเชื้อปานกลางจากโรคลำไส้อักเสบ จึงไม่จำเป็นต้องใช้ยาในการรักษาซึ่งอาการจะดีขึ้นภายใน
24-48ชม. ถ้าเป็นไปได้ควรแยกการใช้ห้องน้ำกับคนที่ได้รับเชื้อ ซึ่งการล้างมือให้สะอาดช่วยป้องการการแพร่เชื้อได้อีกทางหนึ่ง  สำหรับคนที่มีไข้ หรือ ติดเชื้อหนัก เช่น ไข้ไทฟอยด์ จำเป็นต้องรับยาปฏิชีวนะ กินน้ำเยอะๆเพื่อป้องกันการขาดน้ำ  หรือน้ำพวกGatorade Pedialyten ควรกินจนกว่าอาการท้องร่วงจะดีขึ้นและ กินอาหารสม่ำเสมอ และค่อยๆกิน ทำให้อาการท้องเสียแย่ลงดังนั้นต้องเลี่ยงสักระยะ สำหรับท้องร่วงอย่างรุนแรงควรได้รับสารน้ำทางหลอดเลือด


สิ่งที่ควรทำ
ควรปรุงอาหารให้สุกไม่ว่าจะเป็นเนื้อหรือหมู
ควรเลือกกินอาหารสดใหม่ ผักสลัดที่ถูกทิ้งไว้นานๆก็ไม่ควรกิน
ควรกินเฉพาะนมพลาสเจอไรท์
ควรพกขวดน้ำใส่น้ำไปเอง
ควรหลีกเลี่ยงผู้ที่ติดเชื้อsalmonella

 แจ้งหลีกเลี่ยงสัตว์ที่ติดเชื้อ

 ควรดื่มน้ำเกลือแร่จนกว่าการท้องเสียจะดีขึ้น

 ควรกินอาหารที่แคลลอรี่สูงๆและควบคุมให้อยู่ในปริมาณที่พอเหมาะ

 รีบแจ้งหมอหากมีอาการได้ขาดน้ำเช่น ผิวหนังเหี่ยว และปัสสาวะน้อยลงหรือสีเข้มขึ้น

 ควรรีบแจ้งแพทย์หากมีอาการมากกว่า48ชม และมีไข้ ท้องเสียมากขึ้น ผิวเหลืองตาเหลือง

ห้ามทำ
ห้ามใช้ห้องน้ำเดียวกันหากไม่รักษาความสะอาด
 ห้ามกินอาหารที่ปรุงไม่สุกไม่ว่าจะเนื้อ ไข่ หรือนม

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้