Last updated: 6 ส.ค. 2567 | 2817 จำนวนผู้เข้าชม |
มะเร็งปอด
เป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยในชายและหญิง กว่า 90%ของมะเร็งปอดสามารถเกิดได้ตั้งแต่ส่วนของหลอดลมใหญ่ หลอดลมเล็ก ถุงลม และแบ่งออกเป็น2ชนิดคือ non–small cell และ small-cell ระดับ I, II, III, หรือ IV
สาเหตุ
จากการสูบบุหรี่หรือ ซิกา เป็นหลัก อื่นๆ อาทิเช่น สัมผัสasbestos radon ฉายแสง อยู่บริเวณในหมู่คนสูบบุหรี่
อาการ
ไม่มีอาการจนกว่า มะเร็งจะพัฒนา อื่นๆ เช่น มีอาการไอมานาน ไอมีเลือดปนเสมหะ หายใจเร็วถี่ หายใจวี๊ด ปอดติดเชื้อบ่อยครั้ง หน้าบวม เส้นเลือดบริเวณคอบวม ปวดบ่าไหล่ แขน มือ อาจพบ Pancoast tumor ในบางเวลา
การวินิจฉัย
การตรวจพบในระยะแรกเป็นไปได้น้อย เพรราะผุ้ป่วยไม่มีอาการจนกว่าเซลล์มะเร็งพัฒนา การวินิจฉัยที่แน่นอนคือการเก้บตัวอย่างน้ำในปอดหรือเนื้อปอดบางส่วนมาส่งตรวจ
การรักษา
หลังการการวินิจฉัยสำเร็จ การประเมินการแพร่กระจายก็สำคัญ หากเซลล์มะเร็งยังไม่แพร่กระจายก็สามารถรักษาหายขาดได้ สำหรับมะเร็งปอดชนิด non–small-cell การทำCTท้องและช่องอก ช่วยในการค้นหาการกระจายตัวของเซลล์มะเร็งไปต่อมน้ำเหลืองหรือตับ การทำ PET ตรวจการหายใจ pulmonary function testsถูกทำก่อนการผ่าตัด
การผ่าตัดทำขณะรู้ตำแหน่งของก้อนมะเร็งและเป็นที่วิธีรักษาที่ทำให้หายขาดได้ หากเซลล์มะเร็งถึงขั้นรุนแรง อาจใช้การฉายแสงหรือให้เคมีบำบัดเพื่อรักษา
สำหรับ small-cell การทำCTท้องและปอด ศีรษะ การตรวจPET การเก็บตัวอย่างปอดมาตรวจ การผ่าตัดไม่สามารถรักษาหายขาดได้ ดังนั้นการทำคีโมหรือฉายแสงถือเป็นทางออกที่ดี
การรักษาทั้งหมดล้วนมีภาวะแทรกซ้อน รวมถึง ปวด หายใจเร็วถี่เหนื่อย หายใจเร็ว ทำให้เกิดจ้ำเลือดหรือเลือดออกได้ คลื่นไส้อาเจียน ผมร่วงจากการทำคีโม
สิ่งที่ควรทำ
ควรเข้าใจผลกระทบจากการสูบบุหรี่และการเกิดมะเร็งปอด
ควรปรึกษาแพทย์โรคมะเร็งสำหรับการรักษา
ควรเข้าใจ ความสำคัญของสารอาหารก่อนการรักษา กินอาหารที่มีประโยชน์รวมถึงผักผลไม้
ห้ามทำ
ห้ามสูบบุหรี่
ห้ามกลัวที่จะถามแพทย์ถึงความเห็นและภาวะแทรกซ้อนหลังการรักษาจากแพทย์
20 พ.ย. 2564
3 มี.ค. 2564
18 ส.ค. 2565
24 เม.ย 2566