มะเร็งหลอดอาหาร(esophageal cancer)

Last updated: 6 ส.ค. 2567  |  4997 จำนวนผู้เข้าชม  | 

มะเร็งหลอดอาหาร(esophageal cancer)

โรคมะเร็งหลอดอาหาร(esophageal cancer)


           หลอดอาหารเป็นส่วนหนึ่งของระบบย่อยอาหารที่เชื่อมระหว่างปากและกระเพาะ มะเร็งหลอดอาหาร มักจะเกิดบริเวณหลอดอาหารส่วนล่าง

สาเหตุ 
      ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่ความเสี่ยงที่อาจทำให้เป็นมะเร็งได้อาทิเช่น การดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสทำให้เป็นมะเร็งมากขึ้น  ไม่ถ่ายทอดทางพันธูกรรรม หากมีกรดไหลย้อนจากกระเพาะมาที่หลอดอาหารเป็นเวลานาน เนื่อเยื่อบริเวณนั้นจะเกิดการเปลี่ยนแปลงเกิดภาวะที่เรียกว่า Barrett’s esophagus ซึ่งในบางรายกลายเป็นมะเร็งได้
 
อาการ
    มีปัญหาการกลืนของแข็ง และเมื่อก้อนโตขึ้น ผู้ป่วยจะไม่สามารถกลืนได้แม้กระทั่งอาหารเหลวและมีอาการเจ็บร่วมด้วย และเซลล์มะเร็งสามารถแพร่กระจายไปปอด หลอดลม ต่อมน้ำเหลือง ตับ นอกจากนั้นยังมีเสียงแหบ ไอ  อาเจียนเป็นเลือด แน่นหน้าอก

การวินิจฉัย 
    ทางที่ดีที่สุดในการวินิจฉัยคือส่องกล้องเข้าไปในหลอดอาหารและเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อมาตรวจ วิธีอื่นๆเช่นการถ่ายเอกซเรย์  การกลืนแป้งหรือ esophagography หลังจากวินิจฉัยได้แล้ว ควรบอก ระดับความรุนแรง และบอกถึงการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง โดยการทำCT scan บริเวณอกและท้อง หากสงสัยแพร่ไปที่กล่องเสียงก็ตรวจbronchoscopy โดยส่องกล้องเข้าไปบริเวณหลอดลม

การรักษา 
      การรักษาขึ้นกับระดับความรุนแรงและการแพร่กระจายของโรค เช่นการผ่าตัด ฉายแสง ทำคีโม ในการผ่าตัดนั้นเรียกว่าการทำ esophagectomy แพทย์จะตัดชิ้นเนื้อที่เป็นเซลล์มะเร็งออกรวมไปถึงต่อมน้ำเหลืองที่มะเร็งแพร่กระจายไป  การฉายแสงจะใช้รักษาต่อจากการผ่าตัดเมื่อเซลล์มะเร็งมีขนาดใหญ่มากไม่สามารถเอาออกได้หมด และการทำคีโมทำร่วมกับการผ่าตัดและฉายแสงได้

    สิ่งที่ควรทำ
ควรรักษาภาวะที่กรดไหลย้อนเป็นเวลานานอันเป็นเหตุให้ก่อโรคมะเร็ง
ควรสอบถามแนวโน้มในการรักษา
ควรเข้าใจว่าสารอาหารมีความจำเป็นทั้งก่อนและหลังผ่าตัด ควรได้รับอาหารที่แคลลอรี่ที่สูง และมีคุณค่าทางโภชนาการ
ควรรีบพบแพทย์หากคุณมีอาการกลืนลำบาก หรือกลืนแล้วติดคอ
ควรรีบแจ้งแพทย์หากมีอากรไอหนักๆ หรืออาเจียนเป็นเลือด
ควรรีบแจ้งแพทย์หากมีอาการหายใจสั้นถี่และมีไข้

 ควรรีบแจ้งแพทย์ถ้าคุณกินอาหารไม่ได้หรือน้ำหนัดลดไวเกิน
   ห้ามทำ
ห้ามสูบบุหรี่
 ห้ามดื่มเหล้า
 ห้ามผิดนัดเมื่อแพทย์นัดติดตามอาการ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้