สุราเป็นพิษ

Last updated: 6 ส.ค. 2567  |  23865 จำนวนผู้เข้าชม  | 

สุราเป็นพิษ

สุราเป็นพิษ


           ภาวะติดสุรา คือ มักเกิดในคนที่ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ ในปริมาณที่มากเกินกำหนด
คือดื่มมากกว่า 14 แก้ว ต่อสัปดาห์ หรือ ดื่มมากกว่า 4 แก้ว ต่อครั้ง
การดื่มเหล้า มากกว่า 5-6แก้ว ต่อวัน  เรียกว่า มีอาการติดเหล้าอย่างหนัก
โดยปริมาณเหล้า1แก้ว จะมีแอลกอฮอล์เทียบเท่ากับ เบียร์กระป๋องขนาด 12 ออนซ์ หรือ ไวน์ขนาด5ออนซ์ หรือ 80-proof liquor ขนาด 1.5ออนซ์
คนไข้จะมาด้วยพฤติกรรมติดสุราหนัก มีอาการเมา และมีอาการโรคพิษสุราเรื้อรัง จากการดื่มเหล้าเป็นระยะเวลานาน
แอลกอฮอล์ เป็น1ใน4ของสาเหตุหลักในการเสียชีวิต ในสหรัฐอเมริกา

สาเหตุ 
        ที่ทำให้ติดสุรา คืออะไรกันนะ??
โรคพิษสุราเรื้อรังมักพบในคนที่มีญาติใกล้ชิด เป็นโรคพิษสุราเรื้อรังเหมือนกัน รวมทั้งมีโอกาสที่จะติดสารเสพติดอื่นได้ง่าย เช่น นิโคติน

 
อาการ
  อาการของการติดเหล้า
 1.มีช่วงการหายใจเข้าออกเร็วตื้น
       2.รู้สึกเจ็บหน้าอกเหมือนมีของแหลมทิ่มเมื่อหายใจเข้าและออก
       3.รู้สึกจะเป็นลมและอ่อนเพลียไม่มีแรง การรักษา
อาการติดสุราเป็นโรคที่วินิจัยได้ยาก. ผู้ป่วยมักจะปฏิเสธว่าตัวเองมีพฤติกรรมติดสุราอยู่เสมอ
และพยายามหลบซ่อนอาการ
อาการแสดงอาจมาได้หลายด้านทั้งด้านพฤติกรรม ด้านร่างกายและด้านจิตใจ
-ด้านพฤติกรรม อาจมีอาการรู้สึกผิด กระวนกระวาย หงุดหงิด ไม่สามารถควบคุมการดื่มของตัวเองได้ 
ทำงานผิดพลาด,ผิดนัด ทำร้ายตัวเองหรือผู้อื่น จำไม่ได้ว่ามีอาการอะไรหลังดื่ม
-ด้านร่างกาย อาการสามารถเกิดได้เป็นครั้งๆ หรือ เป็นอาการระยะสุดท้ายของโรคพิษสุราเรื้อรัง มีอาการ เช่น ทรงตัวไม่อยู่ คลื่นไส้ ปวดท้อง ท้องเสีย อาเจียน มีเหงื่อเยอะ ใจสั่น หลงลืม ตาตัวเหลือง
-ด้านจิตใจ จะมีอาการ อารมณ์แปรปรวน ซึมเศร้า หงุดหงิดกระวนกระวาย นอนไม่หลับ ขี้ลืม

การวินิจฉัย 
  การวินิจฉัย ภาวะติดเหล้า   แพทย์มักวินิจฉัย ภาวะติดสุรา จากประวัติพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ของผู้ป่วย และการตรวจเลือด ดูการทำงานของไตและตับ และดูค่าการทำงานของร่างกาย

การรักษา 
      การรักษา ภาวะติดเหล้า ความสำเร็จของการรักษาขึ้นอยู่กับผู้ป่วยเชื่อว่าภาวะติดสุรานี้เป็นปัญหา
หลักการรักษามี 12 ขั้นตอน ได้แก่ การหยุดสุรา,การให้ความรู้,การล้างพิษ(ถอนตัวจากการดื่ม) และการสนับสนุนจากกลุ่มเพื่อน,ช่วยเหลือเกี่ยวกับที่พักอาศัย/งาน,การสนับสนุนทางด้านสังคม /ด้านการรักษา,ทักษะในการรับมือ 
การถอนตัวจากการดื่ม อาจมีอาการ เหงื่อออก,สับสน รักษาโดยใช้ยากลุ่ม benzodiazepinesเพื่อทำให้คนไข้สงบ และอาจให้ยาอื่นเพื่อลดอาการอยากเหล้า
การหยุดดื่มเหล้าเป็นสิ่งที่ยาก ผู้ป่วยมักมีอาการทรุดหลังได้รับการรักษา ซึ่งผู้ป่วยจะต้องทำความเข้าใจและยอมรับว่า อาการทรุดนี้เกิดจากเป็นโรค และจะต้องพยายามหยุดเหล้าต่อไป


    สิ่งที่ควรทำ
ควรบอกแพทย์ตามจริง เกี่ยวกับปริมาณเหล้าที่ดื่ม
ควรรับการสนับสนุนจากกลุ่มเพื่อน,ที่ปรึกษา,เพื่อนและญาติ
ควรเข้าใจเกี่ยวกับการรักษา และมีทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับการรักษา แม้จะมีการกำเริบ
ควรพบแพทย์ ถ้ามีอาการ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย แสบร้อนท้อง หายใจลำบาก ถ่ายปนเลือด
ควรพบแพทย์ ถ้ามีความคิดอยากฆ่าตัวตาย


   ห้ามทำ
 ห้ามโกหกแพทย์ของคุณเมื่อถูกถามเกี่ยวกับการกินแอลกอฮอล์  ,แจ้งแพทย์ถึงแม้ไม่ได้ถาม
 ห้ามหยุดการรักษา แม้จะเจอวันแย่ๆ
 ห้ามขับรถขณะกินเหล้า

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้