ภาวะขาดประจำเดือน

Last updated: 6 ส.ค. 2567  |  10243 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ภาวะขาดประจำเดือน

ภาวะขาดประจำเดือน


               โดยปกติประจำเดือนจะหยุดขณะที่มีการตั้งครรภ์ ขณะให้นมบุตร หรือ ภาวะที่กำลังหมดประจำเดือน ผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่ประจำเดือนขาดหายไปเรียกว่า ภาวะพร่องประจำเดือน ซึ่งแบ่งเป็น 2 ชนิด primary หรือ secondary ขึ้นอยู่กับว่ามีอาการเกิดก่อนหรือหลังมีประจำเดือนครั้งแรก หากเป็นชนิดprimary เกิดขึ้นเมื่อถึงวัยมีประจำเดือนแล้วยังไม่มีประจำเดือน วัยรุ่นตอนต้นอายุ16ปีแต่ยังไม่แสดงลักษณะของวัยเจริญพันธุ์ออกมา ส่วนชนิด secondary คือเคยมีประจำเดือนมาก่อนแต่มีช่วงประจำเดือนขาดไป 6เดือน ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่มันเป็นชนิดsecondary

สาเหตุ 
       สาเหตุมักเกิดจากเกิดจากต่อมต่างๆโดนทำลายเช่น ต่อมใต้สมอง ต่อมไทรอยด์ รังไข่ มดลูก ส่วนน้อยที่สาเหตุเกิดจากชนิดprimary สำหรับผู้หญิงบางคนเกิดจากความผิดปกติของช่องคลอดฟรือมดลูกซึ่งจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดเพื่อแก้ปัญหา ความเสี่ยงที่ทำให้เกิดการขาดประจำเดือน อาทิเช่น ลดน้ำฟนักเร็วเกินไป ภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมน กินยาคุมหรือมีส่วนผสมของprogesterone ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง ภาวะขาดประจำเดือนไม่ได้ส่งต่อทางพันธุกรร

 
อาการ
    อาการผิดปกติคือ ประจำเดือนไม่มา ส่วนอาการอื่นๆขึ้นอยู่กับสาเหตุของการพร่องประจำเดือนไป อาทิเช่น น้ำหนักขึ้น เหนื่อย ผมร่วง ผิวแห้ง ขับถ่ายยาก หัวใจเต้นช้า
การวินิจฉัย 
     แพทย์วินิจฉัยจากการซักประวัติตรวจร่างกายและดูผลแล็บ แพทย์อาจจะต้องทำเอกซเรย์หรืออัลตราซาวด์เพื่อหาสาเหตุเพิ่มเติม ในขั้นตอนแรก ตองตัดข้อสงสัยอกี่ยวกับการตั้งครรภ์ โดยตรวจ pregnancy test ทำMRI สมองเพื่อตรวจสอบต่อมใต้สมอง และ.ต่อม.hypothalamus เมื่อสงสัยว่าเป็นสาเหตุ ทำCT ช่องท้องและ อุ้งเชิงกรานหรือtestอื่นๆเพื่อตรวจหาว่ามีความผิดปกติของมดลูกและรังไข่หรือไม่ ซึ่งแพทย์ทั่วไปจะต้องส่งต่อเพื่อปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านนรีเวชและต่อมไร้ท่อ เพื่อประเมินการรักษาร่วมด้วย

การรักษา 
            ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการหรือผู้ป่วยต้องการเตรียมเผื่อตั้งครรรภ์ ดังนั้นผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาเกี่ยวกับระบบต่อมไร้ท่อ อาทิเช่น ขนดก เสียงทุ้ม มีหนวดเครา ที่ซึ่งบางคนมีอากสรเหล่านี้ร่วมด้วย ยาที่ใช้รักษาคือ medroxyprogesterone ซึ่งจะช่วยปรับประจำเดือนให้ดีขึ้น แพทย์จะแนะนำให้กินฮอร์โมนทดแทน (เอสโตรเจน) แคลเซียม วิตามินดี สำหรับผู้ป่วยบางคน หากมีผู้ป่วยที่ได้รับฮอร์โมนเสริม(เอสโตรเจน) อยู่แล้ว แพทย์จะแนะนำให้กิน ฮอร์โมน โปรเจสเตอโรนร่วมด้วยเพื่อป้องกันการเกิดมะเร็งมดลูก ส่วนยาอื่นๆ อาจจะใช้ สำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาต่อมหมวกไตแต่กำเนิด ภาวะรังไข่ไม่เจริญเต็มที่ ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนลดลง ในกรณีผู้ป่วยผิดปกติของตัวอวัยวะต้องรักษาด้วยการผ่าตัด ส่วนผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องน้ำฟนักลด พฤตืการกินผิดปกติ ออกกำลังกายมากเกินไป ต้องได้รับคำปรึกษาจากนักโภชนาการ สำหรับผู้ป่วยที่ขาดประจำเดือนจากการเป็นโรค pcos(polycystic ovarian syndrome) ต้องรักษาด้วยการคุมน้ำหนัก ออกกำลังกาย ร่วมกับหารกินยา metformin     ส่วนผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรมส่งต่อในเรื่องประจำเดือนต้องปรึกษาเฉพาะทางด้านพันธุกรรม ส่วนการรักษาขึ้นกับดุลยพินิจของผู้เชี่ยวชาญ. ผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้า ไม่อยากอาหาร หรือกินแล้วล้วงคอเพื่ออ้วก หรือความผิดปกติทางด้านอารมณ์ควรปรึกษาจิตแพทย์เพื่อหาทางแก้ไข

    สิ่งที่ควรทำ
ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางตามที่ได้รับคำแนะนำ
ควรควบคุมน้ำฟนักให้อยู่ในเกณ์มาตรฐาน


   ห้ามทำ
ห้ามหยุดยาหรือเปลี่ยนปริมานยาที่กินเองโดยไม่ได้รับอนุญาตจากแพทย์
ห้าม กินยาต้ม ยาหม้อ ยาลูกกลอนหรือยาอื่นๆที่แพทย์ไม่ได้สั่งให้

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้